Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5178
Title: แผนธุรกิจ “มิตรอาวุโส” แอพพลิเคชั่นพาผู้สูงอายุและผู้ป่วยไปสถานพยาบาล
Other Titles: BUSINESS PLAN "MITR R-VUSO", AN APPLICATION THAT TAKE CARE OF THE ELDERLY AND PATIENTS TO THE HOSPITAL.
Authors: ธนภัทร กาญจนพยัฆ
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
แผนธุรกิจ
ผู้สูงอายุ
สถานพยาบาล
มิตรอาวุโส
แอพพลิเคชั่น
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2565 มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากถึง 20% และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด คือมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไปสูงถึง 28% ของประชากรท้ังหมด ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า แนวโน้มในยุคปัจจุบันการมีบุตร ของแต่ละครอบครัวได้ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ดังจะเห็นได้จากสถิติในปี พ.ศ. 2563 พบว่ามีค่าเฉลี่ยของจำนวนสมาชิกในครัวเรือนไทยอยู่ที่ 2.4 คนเท่านั้น โดยที่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม คู่รักหนุ่มสาวที่อยู่ด้วยกันในวัยทำงานและเลือกที่จะไม่แต่งงานหรือมีบุตร รวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียว เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบต่อมาที่เห็นได้ ชัดที่สุด คือสถานการณ์การเจ็บป่วย โดยจากสถิติของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 มีผู้สูงอายุเข้ามาใช้บริการในสถานบริการ สาธารณสุขเป็นจำนวนมากสูงถึง 11.6 ล้านคน โดยพบว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานมากที่สุด รองลงมาคือผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ตามลำดับ ซึ่งผู้สูงอายุ ที่ป่วยด้วยโรคเหล่านี้จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อติดตามอาการทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน และถ้าหากผู้ป่ วยที่ต้องฟอกไต จำเป็นต้องพบแพทย์ทุก 3 วัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบข้อมูลการ คาดการณ์ประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553 – 2583 พบอัตราเกื้อหนุน (อัตราส่วนของคนวัยท างาน : ผู้สูงอายุ) ในปี พ.ศ.2573 พบว่าจะเหลือเพียงอัตราส่วน 2 : 1 ซึ่งหมายความว่า ผู้สูงอายุ 1 คน มีคนในครอบครัวที่สามารถให้เวลาและดูแลได้เฉลี่ยเพียง 2 คนเท่าน้ัน จากปัญหาข้างต้นประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันที่ค่อนถดถอย ข้าวยากหมากแพง ส่งผลให้สมาชิกภายในครอบครัวต้องไปประกอบ อาชีพเพื่อหาค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถออกไปหารายได้ได้ มิตรอาวุโสจึงเล็งเห็นโอกาสเพื่อเข้ามาตอบโจทย์ปัญหา โดยเป็นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการพา ผู้สูงอายุและผู้ป่วยทั่วไปไปสถานพยาบาล ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการลางานไม่ได้หรือติดธุระสำคัญทำให้ไม่สามารถพาผู้สูงอายุไปสถานพยาบาลได้เองและด้วยฟังก์ชั่น Tracking real-time ที่สามารถติดตามได้ตลอดเวลา เพิ่มความมั่นใจในการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับช่วยให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยฟังก์ชั่น รายงานรายละเอียดข้อมูลการรักษาจากแพทย์ เพราะ อีกปัญหาหนึ่งสำหรับการไปสถานพยาบาล ได้แก่ ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยฟังคำอธิบายของแพทย์ไม่ได้ครบถ้วนหรือแพทย์อธิบายรวบรัดจนเกินไป เป็ นต้น ธุรกิจของเราจะให้บริการผ่าน ช่องทางแอพพลิเคชั่นเป็นหลัก ซึ่งได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มของครอบครัวผู้สูงอายุเป็นเป้าหมายหลักและกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปเป็น กลุ่มเป้าหมายรอง โดยคาดว่าจะสามารถแก้ปัญหาและลดอุปสรรคด้านการประหยัดเวลาเมื่อผู้สูงอายุของท่านต้องไปสถานพยาบาล แต่ท่านไม่สามารถลางานหรือละภาระหน้าที่ของท่าน ได้ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความสบายใจต่อกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น กลยุทธ์ของธุรกิจแอพพลิเคชั่น “มิตรอาวุโส” คือ Growth strategy หรือกลยุทธ์แบบเติบโต เนื่องจากธุรกิจนี้ยังถือว่ามีความใหม่ในตลาด มีคู่แข่งที่น้อย และ แอพพลิเคชั่น “มิตรอาวุโส” มีจุดแข็งที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาดอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยและการครอบคลุมพื้นที่บริการ ด้วยเหตุนี้เราจึงใช้กลยุทธ์สร้างความ แตกต่าง (Product Differentiation) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และให้ผลิตภัณฑ์เกิดความแตกต่างกับคู่แข่ง ธุรกิจของเราคาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมท้ังโครงการอยู่ที่ 1.25 ล้านบาท โดยแบ่ง ออกเป็นเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรประมาณ 0.96 ล้านบาท และในส่วนของเงินลงทุนหมุนเวียนประมาณ 0.26 ล้านบาท เงินลงทุนทั้งหมดของโครงการจะมาจากส่วนของเจ้าของและผู้ถือ หุ้นท้ังหมด ไม่มีการกู้ยืม ซึ่งจากการประเมินแผนการลงทุนในระยะ 5 ปี แรก จะสามารถสร้างมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ด้วยอัตราคิดลดที่ร้อยละ 12 เท่ากับ 23.95 ล้านบาท มีอัตรา ผลตอบแทนโครงการ (IRR) เท่ากับร้อยละ 128.33 และคาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา (PB) 26 เดือน
Description: 56 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5178
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.022 2566.pdf2.66 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.