Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/523
Title: | ปัจจัยของการโฆษณาแบบขำขันที่จะสร้างการรับรู้และการจดจำต่อผู้บริโภค |
Authors: | สุพัตรา จิระประเสริฐสุข |
Keywords: | Marketing การตลาด การโฆษณา โทรทัศน์ ขำขัน |
Issue Date: | 21-May-2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2556 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของการโฆษณาแบบขำขันที่จะสร้างการรับรู้และการจดจำต่อผู้บริโภค และเพื่อศึกษาถึงวัตถุประสงค์ของการทำโฆษณาแบบขำขัน การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานโฆษณาที่ผ่านสื่อโทรทัศน์ จำนวน 18 รายการ งานวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการตีความด้านเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยของการโฆษณาแบบขำขันที่จะสร้างการรับรู้และการจดจำต่อผู้บริโภค สามารถแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัย ดังนี้ การสร้างอารมณ์ขันจากพฤติกรรมของตัวละคร เป็นการล้อเลียนพฤติกรรมของคน และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การสร้างอารมณ์ขันจากการใช้คำ หรือคำพูดของตัวละครซึ่งเป็นคำพูดที่มีความหมายในเชิงส่อเสียด สองแง่สองง่าม และการสร้างอารมณ์ขันจากเรื่องหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกินความเป็นจริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในชีวิต หรือเป็นสถานการณ์พลิกความคาดหมายแนวคิดนี้เป็นการสร้างอารมณ์ขันจากสิ่งที่เราไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้จริง และปัจจัยของการโฆษณาแบบขำขันที่ถูกใช้มากที่สุด คือ การสร้างอารมณ์ขันจากพฤติกรรมของตัวละคร ซึ่งส่วนมากจะเป็นการล้อเลียนพฤติกรรมของคน และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ปัจจัยนี้เป็นการสร้างอารมณ์ขันจากเรื่องราว สถานการณ์ที่ล้อเลียน พฤติกรรมของคน ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเคยมีประสบการณ์ร่วม ทำให้สามารถเข้าใจเรื่องราวในงานการสื่อสารการตลาดได้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์ของการทำโฆษณาแบบขำขันสามารถแบ่งออกได้ 2 วัตถุประสงค์ คือ เพื่อนำเสนอคุณสมบัติที่สอดคล้องกับสินค้า และเพื่อสร้างการรับรู้ภาพรวมของสินค้าและบริการ คำสำคัญ : การโฆษณา/ การรับรู้/ สื่อ/ อารมณ์ขัน |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/523 |
Other Identifiers: | TP MM.043 2556 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.043 2556.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.