Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5307
Title: แผนธุรกิจบริการจัดอาหารเฉพาะโรคแบบส่งถึงบ้าน A Cup of Care
Other Titles: Therapeutic food delivery service
Authors: พัทธนันท์ นวลแก้ว
Keywords: Health Business Management
แผนธุรกิจ
โรค NCDs
ธุรกิจอาหารสุขภาพ
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: โรค NCDs (Non-communicable Diseases) หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพ อันดับหนึ่งของโลกและประเทศไทย โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคนไทยเป็ นโรคในกลุ่มนี้มากถึง 14 ล้านคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 300,000 คนต่อปี และมีการเสียชีวิตจากโรค NCDs ถึงร้อยละ 76 ของจำนวนการตายทั้งหมดในแต่ละปี ผู้ป่วยโรค NCDs หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแล้ว จะได้รับการรักษาด้วยยา และการควบคุมอาหาร เพื่อควบคุมความรุนแรงของโรค ที่โรงพยาบาลจะมีแพทย์และนักโภชนาการ จะเป็นผู้ประเมินอาการและกำหนดลักษณะอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยต้อง กลับบ้าน ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องกลับไปปรุงอาหารที่บ้านให้เป็นไปตามหลักการของอาหารเฉพาะ โรคดังเอกสารประกอบการสอนของทางโรงพยาบาล ทั้งนี้แม้ในเอกสารประกอบการสอนจะมีการกำหนดปริมาณ สัดส่วนของอาหารอย่างชัดเจน แต่ในความเป็นจริง คู่มือมีรูปแบบไม่เหมาะสมกับ บริบทของผู้ป่วย ทำให้เกิดความยุ่งยากในการนำไปใช้จริง ซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์ของ ผู้จัดทำที่เคยเป็นพยาบาลดูแลผู้ป่วยอายุรกรรมมาก่อน และการมีคนในครอบครัวเป็นโรค NCDs และผลการศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่ ยที่เป็นโรค NCDs ที่พบว่าเมื่ออยู่ที่บ้าน ผู้ป่วยยังคงรับประทานอาหารหรือปรุงอาหารตามความเคยชินเป็นหลัก รับประทานอาหารตาม ความชอบของสมาชิกในครอบครัว ทำให้การรักษาไม่เกิดประสิทธิภาพและทำให้ผู้ป่วยส่วนมาก ยังคงต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มระดับยาในแต่ละครั้งที่มีการตรวจ ติดตามอาการ จากข้อมูลและปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้จัดทำจึงเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ที่ทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยทำได้ยาก และคิดว่าคงจะดีไม่น้อยถ้าหากมีบริการที่สามารถ อำนวยความสะดวกในการจัดหาอาหารที่เหมาะสมกับโรค และยังสามารถให้แนะนำและให้ คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยได้ อีกทั้งในอุตสาหกรรมอาหารเฉพาะโรคมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตาม การเติบโตของตลาดธุรกิจอาหารสุขภาพ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยด้านประชากร การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต ทั้งหมดนี้เป็ นโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ A Cup of Care เป็นบริการจัดอาหารเฉพาะโรคให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง แบบส่งถึงบ้าน โดยการร่วมมือกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ นักโภชนาการ และเชฟผู้เชี่ยวชาญที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค ส่งเสริมให้การรักษามีประสิทธิภาพ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็น B2C (Business to Customer) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น กลุ่มหลักที่จะเป็น กลุ่มผู้ดูแลและครอบครัวของผู้ป่วย และกลุ่มรองเป็นกลุ่มของผู้ป่วยที่มีการควบคุมอาหารเพื่อประคับประคองอาการของโรค โดยลักษณะประชากรศาสตร์ของกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มชนชั้น กลางวัยทำงาน โดยจะทำการขายผ่านช่องทางการสั่งซื้อหลักบน Website, Facebook และ Line Official Account บริษัทฯ ได้มีการรวบรวมสูตรอาหารเฉพาะโรคจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ร่วมกับนักโภชนาการและเชฟผู้เชี่ยวชาญมาจัดทำเป็ น Standard Menu เพื่อ Recommend ให้กับ ผู้ป่วย อีกทั้งยังมี Option ในการใช้บริการ Personalization โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและนัก โภชนาการ กระบวนการผลิตจะแบ่งผลิตภัณฑ์เป็น Standard Menu และ Personalized Menu ในสัดส่วน Standard : Personalized เท่ากับ 80:20 บริษัท A Cup of Care มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และเช่าพื้นที่ครัวกลางบริเวณเกษตร-นวมินทร์ฯ ในการประกอบอาหาร ใช้บุคลากรของบริษัทในกระบวนการ ผลิตทั้งหมด สำหรับการจัดส่งจะมีการว่าจ้างบริการ Delivery จากภายนอกเป็นรายครั้ง บริษัทฯ มี ทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 2.0 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นทั้งหมด เงินลงทุนส่วนใหญ่จะ นำมาใช้ในการปรับปรุงสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน และอุปกรณ์สำหรับการผลิต มีเงินทุนสำหรับหมุนเวียนอยู่ที่ 750,000 บาท มูลค่าโครงการปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 5,200,931 บาท มีอัตรา ผลตอบแทนในการลงทุน (IRR) 74.63 % และมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 1 ปี 7 เดือน
Description: 60 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5307
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP HBM.002 2567.pdf2.37 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.