Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5318
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorธนพล วีราสา-
dc.contributor.authorนฤมล เดชประเสริฐ-
dc.date.accessioned2024-03-01T12:42:16Z-
dc.date.available2024-03-01T12:42:16Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.otherTP HBM.004 2566-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5318-
dc.description82 แผ่นen_US
dc.description.abstractบริษัท วีเฮลท์ตี้ จำกัด (We Healthy Co., Ltd.) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นให้บริการด้าน สุขภาพในรูปแบบการให้คำปรึกษา การวิเคราะห์ค้นหาปัญหาและความเสี่ยงของคนทำงานในสำนักงาน ร่วมวางแผนและหาแนวทางการจัดการเชิงป้องกันต่อการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม หรือโรคอ้วนลงพุง โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นและให้ความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกันใน กลุ่มคนวัยทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในมิติด้าน Food, Exercise, Mindset ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่าเทรนด์การทำงานในปี 2023 หลังจาก สถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลายกลายเป็น New Normal ในการใช้ชีวิตรวมถึงรูปแบบการทำงาน ที่ได้ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง การทำงานแบบ Hybrid Working ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คนวัยทำงานส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิการด้าน Well-Being ด้านสุขภาพและ ความเป็นอยู่ในชีวิตการทำงาน เช่น สวัสดิการอุปกรณ์การทำงานแบบ Ergonomics,สวัสดิการ ปรึกษาจิตแพทย์, สวัสดิการกายภาพบำบัดสำหรับ Office Syndrome ซึ่งจากข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจำปี ของกลุ่มตัวอย่างบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านธนาคาร,ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ,ธุรกิจด้านประกันในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าคนวัยทำงานของบริษัท ร้อยละ 60% มีความเสี่ยงต่อภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและการนอนหลับถึงร้อย ละ 56.5 โดยจากข้อมูลการสำรวจทางส่วนขององค์กร/บริษัทสอบถามถึงความต้องการและปัจจัยที่ องค์กรเลือกดูแลส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร พบว่าองค์กร/บริษัทส่วนใหญ่ร้อยละ 60 มีความ ต้องการใช้บริการการดูแลส่งเสริมสุขภาพให้กับบุคลากรผ่านการจัดจ้างองค์กร/บริษัทภายนอกที่มีทีมงานเชี่ยวชาญ มีบทสรุปวิเคราะห์สาเหตุและการออกแบบรูปแบบการป้องกันเชิงสุขภาพให้กับ คนทำงานในสำนักงาน รวมท้ังความยืดหยุ่นในการให้บริการ เครื่องมือตรวจวัดสมรรถภาพทางกาย ที่มีประสิ ทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกัน ความพร้อมในด้านการให้บริ การดังกล่าวจากจากกลุ่ม โรงพยาบาล/สถานประกอบการด้านสุขภาพ ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการขององค์กร/ บริษัทเอกชนที่เพิ่มขึ้นดังนั้นบริษัท วีเฮลท์ตี้ จำกัด จึงเห็นโอกาสในการพัฒนาแผนธุรกิจ การให้บริการดูแล สุขภาพเชิงป้องกันแบบองค์รวมสำหรับคนวัยทำงานในสำนักงานที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ด้วยรูปแบบการดำเนินธุรกิจ Business to Business (B2B) และการร่วมมือกับพันธมิตร ทางธุรกิจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ธุรกิจขนาดกลาง พนักงานระหว่าง 50 -200 คน และธุรกิจ ขนาดใหญ่ 200 คนขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย รองคือ ธุรกิจขนาดเล็ก พนักงานไม่เกิน 50 คน ครอบคลุม พื้นที่สำนักงานในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล มุ่งเน้นกลุ่มคนวัยทำงานที่พบภาวะเข้าข่าย ความเสี่ยงต่อเมแทบอลิกซินโดรม (หรือโรคอ้วนลงพุง) เป็นการกำจัดหรือลดความเสี่ยงอันนำมาสู่ การเกิดโรคที่เกิดจากความอ้วนและอ้วนลงพุงในอนาคต โดยในการดำเนินงานประยุกต์รูปแบบ แนวทางของ Life Enhancement Program มาใช้ให้สอดคล้องตามสถานการณ์ บริบทของแต่ละองค์กร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสุขภาพองค์รวมของพนักงานผ่านโครงการสุขภาพต่างๆ ภายใต้ แบรนด์สินค้าชื่อว่า GET HEALTH ในแผนธุรกิจคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3,200,000 บาท โดยเป็นเงินจากการ ระดมเงินทุนส่วนของเจ้าของ 100% ซึ่งโครงการนี้มีผลตอบแทนในการลงทุนจากการประมาณการ ในระยะเวลา 3 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 5,122,000.90 บาท มีต้นทุนถัวเฉลี่ย 15% มี อัตราผลตอบแทนในการลงทุนของโครงการนี้ (IRR) เท่ากับ 81%en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการจัดการธุรกิจสุขภาพen_US
dc.subjectแผนธุรกิจen_US
dc.subjectGET Healthen_US
dc.subjectวัยทํางานen_US
dc.subjectภาวะเมแทบอลิกซินโดรมen_US
dc.titleแผนธุรกิจ GET Health การให้บริการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบองค์รวม สำหรับคนวัยทำงานในสำนักงานที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรมen_US
dc.title.alternativeGET Health business plan: holistic preventive healthcare services for office workers at risk of metabolic syndromeen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP HBM.004 2566.pdf3.53 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.