Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5388
Title: | ลักษณะของยูทูบเบอร์ (YouTuber) ที่มีผลต่อทัศนคติในตราสินค้าและ ความตั้งใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่นวาย : กรณีศึกษาพิมรี่พาย |
Other Titles: | he characteristics of youtubers that affect the brand attitude and purchase intentions of generation Y consumers: case study: Pimry Pie |
Authors: | เบญจพร ลีระวีเกียรติ |
Keywords: | การตลาด ยูทูบเบอร์ ทัศนคติต่อตราสินค้า ความตั้งใจซื้อสินค้า พิมรี่พาย เจนเนอร์เรช่ันวาย |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | คนไทยมีแนวโน้มการใช้แพลตฟอร์ม YouTube เพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2564 เป็นปีแรกที่ YouTube เป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่า YouTube เป็นแพลตฟอร์มวิดีโออันดับ 1 ของคนไทย แนวโน้มการใช้ยูทูบที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ผู้ผลิตเนื้อหาและนักการตลาดเริ่มทำการส่งเสริมการตลาดผ่าน YouTube มากขึ้น และมี การใช้แพลตฟอร์ม YouTube เพื่อการประชาสัมพันธ์แบรนด์มากขึ้น โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของยูทูบเบอร์ (YouTuber) ที่มีผลต่อทัศนคติต่อตราสินค้า (Brand Attitude) และความตั้งใจซื้อสินค้า (Purchase Intention) ของกลุ่มผู้บริโภคเจน เนอร์เรชั่นวาย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของยูทูบเบอร์ (YouTuber) กับทัศนคติต่อตราสินค้า (Brand Attitude) และ ความตั้งใจซื้อสินค้า (Purchase Intention) ของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่นวาย ทั้งนี้การเก็บข้อมูลเป็นเก็บแบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form ซึ่งเป็นในเว็บไซต์ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างแบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้วิจัยได้ กระจายแบบสอบถามดังกล่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทางยูทูบ (YouTube) อินสตาแกรม (Instagram) และเฟสบุ๊ค (Facebook) โดยประสานงานกับแอดมินของพิมรี่พายเพื่อนำส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูล และขออนุญาตโพส link แบบสอบถามให้ผู้ติดตามช่องยูทูบ (YouTube) ของพิมรี่พาย ผู้วิจัยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ที่ผ่านการคัดกรองท้ังหมด 400 ตัวอย่าง ผลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความเพลิดเพลินของยูทูบเบอร์มี ผลทำให้ผู้บริโภคเนอร์เรชั่นวายเกิดทัศนคติที่ดีในตราสินค้าได้มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความมีอัตลักษณ์ ความน่าไว้ใจ ตามลำดับ ในขณะที่ ความเป็นที่นิยมของพิมรี่พาย หรือยูทูบเบอร์มีผลทำให้ผู้บริโภคเนอร์เรชั่นวายเกิดทัศนคติที่ดีในตราสินค้าในเชิงลบ ซึ่ง สะท้อนให้เห็นว่า ความเป็นที่นิยมของยูทูบเบอร์อาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทัศนคติในตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่นวาย |
Description: | 49 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5388 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.049 2566.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.