Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5520
Title: ตัวชี้นำโอกาสในการเกิดวิกฤตค่าเงินของกลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่ โดยใช้แบบจำลองโลจิท (Random Effect Logit Model)
Other Titles: Signaling of currency crisis in emerging market economies using logit model
Authors: ภิญญา พิงพิทยากุล
Keywords: การเงิน
สัญญาณเตือน
วิกฤตค่าเงิน
ดัชนีแรงกดดันราคาแลกเปลี่ยน
Rolling Window Analysis
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการเกิดวิกฤตค่าเงินในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 24 ประเทศ โดยใช้ข้อมูลรายเดือนตั้งแต่ปี1996-2023 ผู้วิจัยใช้ดัชนีแรงกดดันตลาดอัตราแลกเปลียน (Exchange Market Pressure Index) เพื่อกำหนดนิยามการเกิดวิกฤตค่าเงิน และนำแบบจำลองโลจิท (Random Effect Logit Model) มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคุณภาพสถาบัน (Institution Variables) และตัวแปรทางการเงิน (Financial Indicators) กับโอกาสในการเกิดวิกฤตค่าเงิน ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรคุณภาพสถาบัน ได้แก่การควบคุมการคอร์รัปชัน (Control of Corruption) หลักนิติธรรม (Rule of Law) การกำกับดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐ (Regulatory Quality) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Exchange Rate Regime) มีนัยสำคัญ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับโอกาสในการเกิดวิกฤตค่าเงิน หมายความว่า ประเทศที่ไม่เกิดการคอร์รัปชั่นมีกฎหมายและการกำกับดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ และใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวจะมีโอกาสเกิดวิกฤตค่าเงินน้อยลง ส่วนตัวแปรทางการเงิน ได้แก่ เงินสำรองระหว่างประเทศเมื่อลดลงติดต่อกัน 3 เดือน (3 months consecutive decline in International Reserves) อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) และส่วนต่างของอัตราอกเบี้ยภายในประเทศระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Interest Rate Spread) ที่มีนัยสําคัญ และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับโอกาสในการเกิดวิกฤตค่าเงิน ขณะที่การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) มี ความสัมพันธ์เชิงลบ
Description: 54 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5520
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.009 2567.pdf1.71 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.