Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5539
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | กิตติชัย ราชมหา | - |
dc.contributor.author | จิตอาภา สุทธพินทุ | - |
dc.date.accessioned | 2024-11-25T07:12:43Z | - |
dc.date.available | 2024-11-25T07:12:43Z | - |
dc.date.issued | 2567 | - |
dc.identifier.other | TP BM.018 2567 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5539 | - |
dc.description | 82 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเพชรแท้จากห้องปฏิบัติการ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นผู้ที่เคยซื้อหรือมีความสนใจในการซื้อเพชรแท้จากห้องปฏิบัติการ และ ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) (Ajzen, 1991) และแบบจำลองทฤษฎีปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาสินค้าแบรนด์หรู (Emma Louise Güniker, 2023) มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ประกอบด้วยปัจจัยด้านทัศนคติต่อเพชรแท้จากห้องปฏิบัติการ การคล้อยตามกลุ่ม อ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ประสิทธิผลของ ผู้บริโภคความ เอื้อเฟื้อและความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้การวิเคราะห์อ งค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ด้วยวิธีการหมุนปัจจัยตั้งฉากแบบ Varimax ทำให้สามารถจัดกลุ่มตัวแปร ใหม่ได้ดังนี้ ปัจจัยด้านความรู้และความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและปัจจัยด้านความ ตั้งใจซื้อและทัศนคติของผู้บริโภคต่อเพชรแท้จากห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านความรู้และ ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความต้ังใจซื้อและทัศนคติ ของผู้บริโภคต่อเพชรแท้จากห้องปฏิบัติการ กล่าวคือ ผู้บริโภคที่มีความรู้และความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึง ผู้บริโภคที่ได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากคนรอบข้าง มีแนวโน้มที่จะมีความตั้งใจซื้อและทัศนคติเชิงบวกต่อเพชรแท้จาก ห้องปฏิบัติการมากกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | en_US |
dc.subject | เพชรแท้จากห้องปฏิบัติการ | en_US |
dc.subject | ความตั้งใจซื้อ | en_US |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเพชรแท้จากห้องปฏิบัติการ | en_US |
dc.title.alternative | A study of factors related to purchase intention of laboratory grown diamonds | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.018 2567.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.