Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5696
Title: | สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร โคกหนองนา “นาทวด ฟาร์ม” |
Other Titles: | Business plan for Khok nong na agri-tourise "Na-thuat farm" |
Authors: | รสกร อัฒพันธ์ |
Keywords: | การจัดการธุรกิจอาหาร แผนธุรกิจ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสงขลา โคกหนองนา |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | แผนธุรกิจฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ได้เล็งเห็นโอกาส จากทรัพยากรที่ครอบครัวของผู้จัดทำธุรกิจมีอยู่ โดยได้ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา และการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาดการดำเนินการจัดการ การจัดการบุคลากร การเงิน และการบริหารจัดการความเสี่ยง เป็นต้น โดยผลจากการศึกษาพบว่าธุรกิจนี้มีความน่าสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมนักท่องเทียวที่เปลี่ยนแปลงไป ที่หันมาท่องเที่ยวในประเทศที่เดินทางในระยะใกล้ด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น อัตราการเติบโตของ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวมาเลเซียที่เข้ามาในจังหวัดสงขลาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโครงการก่อสร้างถนนทางหลวง ชนบทสาย สงขลา 4009 ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในการยกระดับคุณภาพประชาชนตลอดแนวเส้นทาง นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลายังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับ จังหวัดใกล้เคียงที่เป็นเมืองรอง โดยขาดการบำรุงรักษา และการพัฒนาต่อยอดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนั้น ในฐานะที่จังหวัดสงขลาเป็นเมืองหลัก จึงเป็นโอกาสของโคกหนองนา “นาทวด ฟาร์ม” สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม หรือร้านคาเฟ่ ที่จำหน่ายอาหารที่มีวัตถุดิบมาจากชุมชน ส่วนของร้านจำหน่ายสินค้า ของฝาก ที่จำหน่ายสินค้าของฝากที่รับซื้อจากชาวบ้าน และชุมชนใกล้เคียง เพื่อยกระดับสินค้าชุมชน เพิ่มมูลค่าของสินค้า และสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชน สุดท้ายจะเป็นส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวที่ประกอบด้วย กิจกรรมปั่นเรือเป็ดและให้อาหารปลา กิจกรรมศิลปะ กิจกรรมนวดแผนไทย และกิจกรรมอื่นๆตามฤดูกาล สำหรับโคกหนองนา “นาทวด ฟาร์ม” ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 20 ล้านบาท มีต้นทุนถัวเฉลี่ยน้ำหนักเท่ากับ 12.72 เปอร์เซ็น โดยเริ่มมีกำไรในปี ที่ 1 มีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 49,461,510.75 บาท มีอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ 59.43 เปอร์เซ็น ระยะเวลาคืนทุน 4 ปี 19 วัน และมีระยะคืนทุนแบบคิดลดคือ 4 ปี 1 เดือน 13 วัน |
Description: | 170 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5696 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FB.003 2567.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.