Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5725
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค Gen X และ Gen Y ในการใช้บริการเดย์สปารูปแบบเครือข่าย เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล |
Other Titles: | A COMPARATIVE STUDY OF FACTORS INFLUENCING BRAND LOYALTY OF GEN X AND GEN Y CONSUMERS IN CHAIN DAY SPA IN BANGKOK AND METROPOLITAN |
Authors: | พรประภา เรืองฤทธิ์ |
Keywords: | ความภักดีต่อตราสินค้า แรงจูงใจแบบปัจจัยแรงผลัก และแบบปัจจัยแรงดึง คุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพ การรับรู้คุณค่า เดย์สปารูป |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2567 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค Gen X และ Gen Y ในการใช้ บริการเดย์สปารูปแบบเครือข่าย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ประกอบไปด้วย ปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยแรงจูงใจแบบแรงผลักและ แรงดึง ปัจจัยคุณภาพการบริการ ปัจจัยภาพลักษณ์ของตราสินค้า ปัจจัยความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพ และปัจจัยการรับรู้คุณค่า โดยเป็นการวิจัยเชิง ปริมาณ มีการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้บริการเดย์สปารูปแบบเครือข่าย จำนวนทั้งสิ้น 411 ชุด ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 31 – 40 ปี Gen Yสถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุดต่ำ กว่าปริญญาตรี – ปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน และส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001 – 35,000 บาท โดยในด้านพฤติกรรม ส่วนใหญ่ไปใช้บริการเดย์สปารูปแบบเครือข่าย เนื่องจากต้องการลดหรือบรรเทาความเครียด โดยกิจกรรมที่ทำคือการใช้บริการนวดร่างกายที่ Health Land Spa เข้าใช้บริการในช่วงเวลา 13.01 น. –16.00 น. และใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยต่อครั้งในการเข้ารับบริการ 1 - 2 ชั่วโมง นอ้ยกว่า 1 ครั้ง ต่อเดือน โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเข้ารับบริการ 1,001 – 2,000 บาทต่อครั้ง และทำการศึกษาหรือค้นหาข้อมูลในการเลือกใช้บริการจากโซเชียล มีเดีย หรือสื่อออนไลน์ หรืออินเตอร์เน็ต สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค Gen X และ Gen Y ในการใช้บริการเดย์สปารูปแบบเครือข่าย ใน เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีผลการศึกษาดังนี้ 1) ปัจจัยแรงจูงใจ (Motivation) แบบปัจจัยแรงผลัก (Push Factor)และแบบปัจจัยแรงดึง (Pull Factor)ไม่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า 2) ปัจจัยคุณภาพการบริการ (Service Quality) มีเพียงด้านความเอาใจใส่ (Empathy) เพียงด้านเดียว ที่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า แต่ในด้านอื่นๆ ไม่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า 3) ปัจจัยภาพลักษณ์ของตราสินค้า (Brand Image) ไม่มีผลต่อ ความภักดีต่อตราสินค้า 4) ปัจจัยความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพ (Health Consciousness)ไม่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า 5) ปัจจัยการรับรู้คุณค่า (Perceived Value) ในด้านสังคม (Social Value) ด้านการรับรู้ (Epistemic Value)และด้านอารมณ์ (Emotional Value) มีผลต่อความภักดีต่อตรา สินค้าตามลำดับ แต่ในด้านอื่นๆ ไม่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า |
Description: | 240 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5725 |
ISSN: | TP BM.059 2567 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.059 2567.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.