Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5892
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorปิยภัสร ธาระวนิช-
dc.contributor.authorภูริณัฐ ยินยอม-
dc.date.accessioned2025-07-21T06:02:32Z-
dc.date.available2025-07-21T06:02:32Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.otherTP FM.019 2567-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5892-
dc.description36 แผ่นen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงไปของโครงสร้างเงินทุนในส่วนของหนี้สินรวม,หนี้สินระยะสั้น และหนี้สินระยะยาวในช่วงก่อนและหลังมีการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2555 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประเทศไทยมีการกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราคงที่ 30% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ต่อมาได้มีการปรับลดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยในปี พ.ศ. 2555 จัดเก็บในอัตรา 23% และมีการปรับลงมาที่อัตรา 20% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน ตามทฤษฎีโครงสร้างเงินทุนกล่าวว่า กิจการที่ก่อหนี้สินในระดับต่ำควรมีการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อประโยชน์ทางภาษี แต่ก็ไม่ควรก่อหนี้สูงจนเกินไป เพราะจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการล้มละลายโดยควรมีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมและยังเพียงพอสำหรับเหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่ออัตราภาษีลดลง ทำให้ประโยชน์ของการมีหนี้ลดลง บริษัทจึงควรลดโครงสร้างเงินทุนในส่วนของหนี้ และเพิ่มเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) ที่มีข้อมูลงบการเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2565 ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงิน, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในหมวดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์, และบริษัทโฮลดิ้ง ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามระหว่างโครงสร้างเงินทุนในส่วนของหนี้สินรวมกับอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริง ซึ่งไม่เป็นไปตามค่าที่คาดหวังตามทฤษฎีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม (Trade-off Theory) โดยในช่วงปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2554 อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และลดลงในช่วงปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นถึงการลดอัตราภาษีตามกฎหมายที่ส่งผลให้อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงของบริษัทที่ใช้ในการศึกษามีค่าลดลงตามไปด้วย แต่โครงสร้างเงินทุนในส่วนของหนี้สินรวมกลับมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการเงินen_US
dc.subjectอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงen_US
dc.subjectอัตราภาษีเงินได้ตามกฎหมายen_US
dc.subjectโครงสร้างเงินทุนen_US
dc.subjectหนี้สินรวมen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงและอัตราภาษีเงินได้ตามกฎหมายกับโครงสร้างเงินทุน ในส่วนของหนี้สินแบ่งตามอุตสาหกรรมen_US
dc.title.alternativeThe relationship between effective average tax rates and statutory tax rates with debt-based capital structure by industryen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.019 2567.pdf1.08 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.