Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5895
Title: | การทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลอง Black-Litterman ภายใต้มุมมองแบบ Relative View โดยใช้ปัจจัย CAPM กรณีศึกษาในดัชนี SET100 |
Other Titles: | An evaluation of the black-litterman model using relative views based on the capm factor: a case study of the set100 index |
Authors: | พชร เล้าแสงฟ้า |
Keywords: | การเงิน Black-Litterman CAPM Fama-French 3 Factor Fama-French 6 Factors and Relative View |
Issue Date: | 2568 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนโดยใช้แบบจำลอง Black-Litterman (BLM) มุมมองแบบเปรียบเทียบ (Relative View) ผ่านแบบจำลองอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected Return) ของ CAPM โดยมีการปรับสัดส่วนการลงทุนทุกปี การศึกษาอยู่ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 - มีนาคม ค.ศ. 2024 รวมระยะเวลา 13 ปี โดยคัดเลือกหุ้นจากดัชนี SET100 ตามเงื่อนไขข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 60 เดือน ผลการศึกษาพบว่า แม้แบบจำลอง BLM – 3 Factors โดยกำหนดเงื่อนไขจำกัดการลงทุนไม่ให้เกิน 5% ต่อหลักทรัพย์หนึ่งตัว (Cap 5%) จะให้ผลตอบแทนส่วนเกินเฉลี่ยสูงสุดในกลุ่ม แต่ยังไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ทั้งด้านผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยตลาดยังมีผลตอบแทนสูงกว่าและความเสี่ยงต่ำกว่าทุกพอร์ตที่สร้างขึ้น จากการประเมินผ่าน Sharpe Ratio, Treynor Ratio และ Jensen’s Alpha พบว่าพอร์ตบางแบบจำลองมีผลลัพธ์ดีที่สุดในกลุ่ม แต่เมื่อเทียบกับตลาดแล้ว ตลาดยังให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงได้ดีกว่า อีกทั้งค่าทางสถิติส่วนใหญ่ที่ใช้วัดผลตอบแทนส่วนเกินของทุกพอร์ตยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Not Statistically Significant) จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าแบบจำลองใดให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างผลตอบแทนที่แบบจำลองคาดการณ์กับผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน แสดงว่าแบบจำลองสามารถชี้แนวโน้มของตลาดได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังมีค่าความเบี่ยงเบนจากดัชนีอ้างอิงสูง (Tracking Error) จึงไม่แม่นยำในการสะท้อนภาพรวมตลาด โดยแบบจำลอง Fama-French 3 Factors จะมี RMSE (Root Mean Square Error) ต่ำสุด แสดงถึงความแม่นยำสูงสุดในการคาดการณ์ แต่เมื่อทดสอบด้วยสมการถดถอย (Regression) พบว่า ทุกแบบจำลองยังคงไม่สามารถอธิบายผลตอบแทนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Description: | 113 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5895 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FM.001 2568.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.