Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5911
Title: การศึกษาองค์ประกอบคุณภาพบริการของโรงพยาบาลสำหรับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
Other Titles: A study of hospital service quality components for bariatric surgery
Authors: มนทิพย์ พวงหิมวันต์
Keywords: การจัดการธุรกิจ
การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
ุคุณภาพบริการโรงพยาบาล
การลดน้ำหนัก
โรคอ้วน
การรับรู้ความเสี่ยง
Issue Date: 2568
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: ปัจจุบันการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักเป็นที่แพร่หลาย โดยผู้คนสามารถเข้าถึงการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักได้มากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการบริการด้านการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก และเพื่อศึกษามุมมองคุณภาพบริการจากผู้ป่วยที่ใช้บริการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก โดยการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีอายุเกิน 20 ปี จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก กลุ่มผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก และกลุ่มบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ภาครัฐ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และอาจารย์แพทย์ รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 31 คน การศึกษานี้มุ่งหวังที่จะเสนอมุมมองในการปรับปรุงคุณภาพบริการการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยพบหลายปัจจัยที่มีความสำคัญกับการศึกษาองค์ประกอบคุณภาพบริการของโรงพยาบาลสำหรับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยสามารถจัดกลุ่มปัจจัยเป็นแก่นสาระได้ทั้งหมด 6 เรื่อง ประกอบด้วย แก่นสาระที่ 1 มุมมองด้านความงาม (Beauty Perception) แก่นสาระที่ 2 การบอกต่อ (Word of Mouth) แก่นสาระที่ 3 การรับรู้ความเสี่ยงการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก (Perceived Risk) แก่นสาระที่ 4 ความเชื่อมั่นต่อตราโรงพยาบาล (Brand Equity) แก่นสาระที่ 5 การรับรู้คุณค่าการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก (Perceived Value) แก่นสาระที่ 6 คุณภาพบริการโรงพยาบาล (Hospital Service Quality) โดยแก่นสาระทั้ง 6 เรื่อง ล้วนสะท้อนถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักของโรงพยาบาล โดยแต่ละปัจจัยจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยและบุคคลภายนอกในการเลือกใช้บริการ ทั้งในด้านความเชื่อมั่นในมาตรฐานการบริการ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และการรับรู้ถึงคุณค่าที่ได้รับจากการผ่าตัด การพัฒนาและปรับปรุงปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับคุณภาพบริการและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น
Description: 156 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5911
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP HOM.010 2568.pdf1.77 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.