Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1120
Title: | การศึกษาความเป็นได้ในการเข้าสู่ตลาดของแผนธุรกิจ Mobile application template สำหรับธุรกิจออนไลน์ "dizP" |
Authors: | อศิรวรรณ อิทธิพรรษนันต์ |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม แผนธุรกิจ Mobile application การศึกษาความเป็นไปได้ dizP |
Issue Date: | 30-Apr-2015 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2558 |
Abstract: | ธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ผ่าน social media ในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 11,392 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 121,392 ล้านบาทในปี 2555 มีผู้ใช้บริการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากกว่า 1 ล้านราย มีผู้ประกอบการมากกว่า 100,000 ราย ที่กำลังดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้ และอีกจำนวนมากที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ดังกล่าวมีความต้องการการจัดการกระบวนการธุรกิจและการสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายให้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยใช้ mobile application เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้าง mobile application ของตนเองนั้น จำเป็นจะต้องใช้เงินทุนถึง 1-4 แสนบาท ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อม และ mobile application สำเร็จรูปที่มีอยู่แล้วในตลาด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ จากปัญหาดังกล่าวและการศึกษาปัญหาในรายละเอียดกับผู้ประกอบการจริงในธุรกิจ บริษัท dizP. ได้พัฒนา mobile application ขึ้น เพื่อช่วยผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ขนาดย่อม ในการจัดการและสื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทุกประเภท ทำให้ผู้ประกอบการสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น dizP. เลือกที่จะพัฒนา mobile application ที่จะตอบโจทย์ลูกค้าซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีคู่แข่งทางตรงที่จะแข่งขัน เช่น การทำการจัดการหลังบ้านให้กับ mobile application ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดที่ได้จากการที่ได้สำรวจและเก็บข้อมูลตลาด โดยนำเสนอ features หลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) Announcement เพื่อแจ้งข่าวสารเร่งด่วนให้กับลูกค้า 2) Share ทำให้สามารถโพสต์สินค้าลงทุก social media ของร้านได้ในครั้งเดียว 3) Messages ไว้ติดต่อกับลูกค้าและแสดงข้อความจากลูกค้า 4) Add on features ที่ช่วยกระตุ้นยอดขาย เช่น สั่งซื้อทันทีจาก Message จากการศึกษากลุ่มเป้าหมายทางการตลาด กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก คือผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ผ่าน social media และกลุ่มเป้าหมายรอง คือองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ที่มีการสื่อสารข้อมูลผ่าน social media จากการคาดการณ์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พบว่าร้านค้าออนไลน์ผ่าน social media ทั้งหมดในประเทศไทย มีจำนวน 163,271 ร้านค้า โดยจำนวนร้านค้าที่มีความต้องการใช้บริการ dizP. เพื่อพัฒนา mobile application ของธุรกิจ อยู่ที่ร้อยละ 57 หรือ 93,065 ร้านค้า บริษัทฯ ตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาดที่ร้อยละ 3 จากจำนวน 93,065 ร้านค้า หรือ 2,790 ร้านค้า ภายใน 5 ปี บทสรุปผู้บริหาร (ต่อ) จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าสู่ตลาดของแผนธุรกิจ mobile application template สำหรับธุรกิจออนไลน์ "dizP." โดยใช้เครื่องมือ PEST Analysis ในการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก พบว่าปัจจัยต่างๆ ส่งผลดีต่อแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท dizP. และส่งผลดีต่อการให้บริการ mobile application กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และจากการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมธุรกิจ โดยใช้เครื่องมือ Five Forces Model และการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด โดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis พบว่าธุรกิจมีความเป็นไปได้ และมีโอกาสที่ดีทางธุรกิจ ทั้งจากปัจจัยภายนอก เช่น จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์และการใช้สื่อ social media ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มความต้องการบริการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น และจากปัจจัยภายใน เช่น ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น บริษัท dizP. วางแผนการเข้าสู่ตลาดโดยกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในการเป็นผู้ให้บริการและพัฒนา mobile application สำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้า/บริการออนไลน์ โดยตอบโจทย์ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการมี mobile application เพื่อใช้ในการนำเสนอสินค้า และสื่อสารกับผู้ซื้อ ในราคาที่สมเหตุสมผล มี Feature ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และมีช่องทางการบริการให้คำแนะนำด้านการใช้งาน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ปรับใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ เพื่อให้บริษัทฯ เป็นที่รู้จักและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่กลุ่มลูกค้ามากขึ้น โดยการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง social media และสื่อออนไลน์ มีการจัดทำโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสนใจและอยากทดลองใช้งาน ซึ่งในปีแรกบริษัทฯ จะเปิดให้ร้านค้าออนไลน์ 100 ร้านค้าที่สนใจลงทะเบียนและเข้าทดลองใช้งานฟรี 30 วัน และมีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการที่ใช้บริการ เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า และเลือกวิธีที่เหมาะสมในการดูแลลูกค้าแต่ละรายได้ และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และทำให้ลูกค้าเกิดความรักในแบรนด์ dizP. และยินดีที่จะบอกต่อแก่ผู้อื่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1120 |
Other Identifiers: | TP EM.013 2558 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.013 2558.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.