Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1243
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าสู่ตลาดของแผนธุรกิจเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มและน้ำแข็งแบบหยอดเหรียญ "Ice cloud" |
Authors: | วิลาวัล อัญชลิสังกาศ |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม แผนธุรกิจ น้ำแข็ง Ice cloud การเข้าสู่ตลาด เครื่องจำหน่ายน้ำดื่ม |
Issue Date: | 11-Jun-2015 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2558 |
Abstract: | ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตอากาศร้อน และด้วยสภาวะอากาศที่อุณหภูมิสูงขึ้นทุกๆปี ส่งผลให้การบริโภค“น้ำแข็ง”มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่เครื่องจำหน่ายน้ำดื่มแบบหยอดเหรียญที่ใช้กันในปัจจุบันนั้น มีกำลังการผลิตที่เกินกว่าปริมาณการจำหน่ายอยู่ ทำให้น้ำที่เหลือเกินกว่าการจำหน่ายนั้นสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำแข็งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางธุรกิจได้ ด้วยเหตุดังกล่าวทางบริษัท Ice Cloud จำกัด จึงจัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มและน้ำแข็งหยอดเหรียญให้กับนักธุรกิจรายย่อยนำไปตั้งในเขตชุมชน เช่น ตลาดสด และหอพักเพื่อให้บริการน้ำดื่มและน้ำแข็งที่สะอาด เพราะน้ำดื่มที่จำหน่ายผ่านการกรองด้วยระบบ Reverse Osmosis ที่ได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ว่าสะอาด ปลอดภัยตามมาตรฐานการบริโภค รวมทั้งยังสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริโภคได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มและน้ำแข็งหยอดเหรียญเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง บริษัท Ice Cloud จำกัด มีพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท พัดชา ดิจิตอล ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนแผงวงจร รวมทั้งผลิตและจำหน่ายเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มหยอดเหรียญ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ และเครื่องเติมเงินระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่หยอดเหรียญ ที่ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในเรื่องของทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านการเขียนแผนวงจร รวมทั้งทีมช่างที่ชำนาญการเรื่องการติดตั้งและดูแลระบบที่เหนือกว่าคู่แข่งอื่นๆ และมีบริษัท วี. แอล. เครื่องเย็น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องผลิตน้ำแข็งรายแรกของประเทศไทย ที่สามารถออกแบบและผลิตเครื่องให้ตรงตามความต้องการการใช้งาน ในช่วงแรก บริษัทจะเข้าสู่ตลาดโดยอาศัยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นสถานที่ตั้งเดิมของเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มหยอดเหรียญที่เครื่องมีอายุการใช้งานพอสมควรและเหมาะสมกับการเปลี่ยนเครื่องใหม่ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจสามารถนำเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มและน้ำแข็งหยอดเหรียญไปตั้งทดแทนเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มหยอดเหรียญเดิมได้เลย บริษัทฯยังมีฐานข้อมูลลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยเดิมที่สั่งซื้อเครื่องหยอดเหรียญประเภทต่างๆจากบริษัท พัดชา ดิจิตอล ซิสเต็ม จำกัด อยู่แล้วสำหรับในส่วนของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯตัวเครื่องบริษัทฯจะใช้โทนสีและรูปแบบเครื่องรวมถึงขนาดให้ใกล้เคียงกับเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มหยอดเหรียญเดิม เนื่องจากผู้บริโภคคุ้นเคยกับเครื่องทั้งยังเชื่อมั่นในคุณค่าด้านความสะอาดของน้ำดื่มที่กลุ่มเป้าหมายบริโภคอยู่แล้ว รวมไปถึงเปิดรับการบริการสินค้าใหม่อย่างน้ำแข็งว่ามีความสะอาดเช่นเดียวกับน้ำดื่ม ซึ่งเป็นคุณค่าที่ผู้บริโภคค้องการมากที่สุด นอกจากนี้บริษัทฯ ได้นำเครื่อง Mock up เครื่องจำหน่ายน้ำดื่มและน้ำแข็งหยอดเหรียญไปตั้งและสำรวจหาปริมาณความต้องการของตลาดพบว่าใน 1 วัน จะมีโอกาสทางการขายประมาณ 50 กิโลกรัมสอดคล้องกับการสัมภาษณ์ร้านค้าร้านขายของชำจำนวน 3 ร้าน ในบริเวณใกล้เคียงพบว่า มียอดจำหน่ายต่อวันอยู่ที่ประมาณ 50 กิโลกรัม เช่นเดียวกัน กลุ่มเป้าหมายที่สองได้แก่ กลุ่มธุรกิจรายย่อย โดยสามารถนำเครื่องของบริษัทไปติดตั้งเพื่อสร้างรายได้โดยจำหน่ายน้ำดื่มให้ได้อย่างน้อย 100 ลิตร/วัน และขายน้ำแข็งได้จำนวน 50 กิโลกรัม/วัน มียอดขายต่อเดือนจะประมาณ13,500 บาท ด้วยต้นทุนค่าเครื่อง 180,000 บาท นักธุรกิจรายย่อยจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 1ปี 2 เดือน (ไม่รวมต้นทุนค่าวัตถุดิบและค่าเช่าที่) ซึ่งการเลือกซื้อเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มและน้ำแข็งหยอดเหรียญไปติดตั้งนั้น จะให้รายได้มากกว่าการลงทุนติดตั้งเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มอย่างเดียวเกือบ 3 เท่า ในปีแรกบริษัทฯ จะมีรายได้จากการดำเนินงานประมาณ 18,630,000 บาท โดยมีที่มาจากการจำหน่ายเครื่องให้ธุรกิจรายย่อยจำนวน 90 เครื่อง และรายได้จากการจำหน่ายน้ำดื่มและน้ำแข็งจากเครื่องที่บริษัทฯ นำไปติดตั้งเพื่อให้บริการจำนวน 15 เครื่อง โดยในปีที่ 2 ทางบริษัทฯได้วางแผนการเติบโตให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1243 |
Other Identifiers: | TP EM.024 2558 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.024 2558.pdf | 10.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.