Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1323
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับทำความสะอาดกระจกกั้นอาบน้ำ GlassWink |
Authors: | ชัชญา วงศ์ทองศรี |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม แผนธุรกิจ กระจกกั้นอาบน้ำ GlassWink |
Issue Date: | 25-Aug-2015 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2558 |
Abstract: | ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ ผลิตภัณฑ์เฉพาะสาหรับทำความสะอาดกระจกกั้นอาบน้ำ GlassWink จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก พบว่า ปัจจัยต่างๆส่งผลดีต่อแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของทางบริษัท กล๊าส-วิ้ง จำกัด กล่าวคือ ผู้บริโภคที่มีกระจกกั้นอาบน้ำนิยมใช้บริการจากบริษัทรับทาความสะอาดมากขึ้น ประกอบกับประชากรวัยทางาน และชาวต่างชาติมักนิยมอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม หรือ เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ที่มีกระจกกั้นอาบน้ำมากขึ้น แม้จะมีกฎระเบียบข้อบังคับจากภาครัฐออกมาควบคุมธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก แต่หากทางบริษัท กล๊าส-วิ้ง จำกัดปฏิบัติตาม ก็จะเป็นการเพิ่มความมั่นใจในตัวสินค้าให้กับผู้บริโภค จากการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรม พบว่าบริษัท กล๊าส-วิ้ง จำกัด เป็นธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคที่ผู้บริโภคยินดีทดลองและมี switching cost ต่ำ จึงมีสินค้าทดแทนมากมายที่เป็นคู่แข่งทางอ้อม หากแต่ไม่มีคู่แข่งทางตรง หรือเจ้าตลาด ที่จะแข่งเรื่องประสิทธิภาพในการทำความสะอาดได้ ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท กล๊าส-วิ้ง จำกัด จึงเป็นธุรกิจมีความเป็นไปได้ที่ดี และมีโอกาสที่ดีทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงประการสาคัญสาหรับธุรกิจนี้ คือ การเข้าถึงผู้บริโภค เนื่องจากเป็นสินค้าใหม่ แต่ทางบริษัท กล๊าส-วิ้ง จากัด อาศัยการขายกับลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่มีกำลังซื้อสูงเป็นหลักในช่วงเริ่มต้นการดำเนินงาน ทำให้เกิดการบอกกันแบบปากต่อปาก (word of mouth) จนแพร่หลายไปถึงลูกค้ากลุ่มบุคคล หรือความเสี่ยงเรื่องการพยายามลอกเลียนแบบสูตรน้ำยาทาความสะอาด ซึ่งทางบริษัท กล๊าส-วิ้ง จำกัด มีความเห็นว่าเป็นไปได้ยาก เพราะ ได้ศึกษาลึกถึงสาเหตุของการเกิดคราบ และพัฒนาสูตรน้ำยาทาความสะอาดให้มีความเฉพาะกับคราบ ซึ่งมีความละเอียดในเรื่องของส่วนประกอบในผลิตน้ำยาทาความสะอาด อีกทั้งทางบริษัท กล๊าส-วิ้ง จำกัดได้เก็บสูตรนี้ไว้เป็นความลับทางการค้า กับทางผู้วิจัย รวมทั้งการจะตรวจหาส่วนประกอบทุกตัวในผลิตภัณฑ์ เป็นเรื่องยากในประเทศไทย เนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่ใช้ตรวจหาส่วนประกอบได้ทุกตัว หรือหากตรวจได้ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1323 |
Other Identifiers: | TP EM.028 2558 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.028 2558.pdf | 12.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.