Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1384
Title: กลยุทธ์การลดอัตราการลาออกของพนักงานขาย กรณีศึกษา บริษัท ซิคเวล จำกัด = Strategy for reduce turnover rate, The study of chick well co.,ltd.
Authors: ณัฐวุฒิ กำลังศิลป์
Keywords: พนักงานขาย
การจัดการและกลยุทธ์
การลาออก
Issue Date: 16-Dec-2015
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2558
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการแก้ปัญหาอัตราการลาออกของพนักงานขายของ บริษัท ชิคเวล จำกัด เนื่องจากการลาออกของพนักงานขายทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงานและสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้รายได้และกำไรของบริษัทลดลง ในการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในสารนิพนธ์ฉบับนี้ใช้เครื่องมือ PESTEL Analysis ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรม เครื่องมือ Five Forces Analysis ในการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม และเครื่องมือ VRIN Framework ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในอุตสาหกรรมและความสามารถในการแข่งขันของบริษัท แล้วจึงทำการเสนอกลยุทธ์ในระดับองค์กร กลยุทธ์ระดับธุรกิจและกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการตามลำดับ พร้อมเสนอแนวทางการกำหนดตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ จากการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเสนอแนะกลยุทธ์ การมุ่งเน้นการเจริญเติบโตจากภายในองค์กร ด้วยการเพิ่มยอดขายทั้งจากกลุ่มลูกค้าเดิม และกลุ่มลูกค้าใหม่ ด้วยการขยายกลุ่มลูกค้าจะทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจนสามารถเกิดการประหยัดต่อขนาดตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจที่ได้นำเสนอ สำหรับกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการจะมุ่งเน้นการใช้ศักยภาพของพนักงานขายให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้พนักงานขายที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการปศุสัตว์หรือสัตวบาล เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สร้างความไว้วางใจ ความรู้สึกถึงการเป็นหุ้นส่วนและส่งเสริมจุดเด่นด้านการให้บริการของบริษัท อันจะส่งผลให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนต่อไป
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1384
Other Identifiers: TP MS.002 2558
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.002 2558.pdf1.58 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.