Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1401
Title: กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการขนถ่ายถ่านหินโดยเรือลำเลียง (Lighter) ของอุตสาหกรรมธุรกิจการค้าถ่านหินภายในประเทศ
Authors: วิไลลักษณ์ อภิวันทนันท์
Keywords: ถ่านหิน
การจัดการและกลยุทธ์
เรือลำเลียง
การขนถ่าย
Lighter
Issue Date: 16-Dec-2015
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2558
Abstract: การศึกษาค้นคว้าปัญหาของการขาดแคลนเรือโป๊ะที่เหมาะสมในการขนถ่ายสินค้าถ่านหินจากเรือเดินทะเลหรือเรือ Vessel (Dry Bulk Carrier) ลงสู่เรือลำเลียงเทกองหรือเรือโป๊ะ (Ligther) ของอุตสาหกรรมธุรกิจค้าถ่านหินระหว่างประเทศให้ได้อย่างต่อเนื่องภายในกำหนดเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนากลยุทธ์ ระดับปฏิบัติการ โดยในงานศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกบริษัท ด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหา ได้แก่ แรงผลักดัน 5 ประการ (Five Forces Model) การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วยเครื่องมือ PESTEL การใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ความเชี่ยวชาญหลัก (Core Competency Analysis) การวิเคราะห์ปัญหาโดยแผนภาพการไหลของกระบวนการ (Process Flow - Diagram) และ Causal Loop Diagram ผลจากการศึกษาสาเหตุและปัจจัยดังกล่าวพบว่า อุปทานของพาหนะเรือโป๊ะเป็นเพียงพาหนะประเภทเดียวที่สามารถขนถ่ายและลำเลียงสินค้า เทกองผ่านล่องน้ำเจ้าพระยาไปยังลุ่มแม่น้ำป่าสัก ด้วยข้อจำกัดการตื้นเขินของแม่น้ำ อีกทั้งอุปสงค์ของการใช้เรือโป๊ะเพื่อ การขนถ่ายและลำเลียงสินค้าเทกองมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้เสนอกลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการ อันได้แก่ กลยุทธ์ การทำสัญญาเช่าเรือโป๊ะระยะยาวกับทางเจ้าของเรือโป๊ะ กลยุทธ์การสร้างสิ่งกระตุ้นและแรงจูงใจโดยการให้ค่าเงินรางวัล (Despatch Money) และบทลงโทษค่าปรับ (Demurrage Money) กับเจ้าของเรือโป๊ะและกลยุทธ์ด้านการเงินและการลงทุน (Investment Strategy) โดยการบริหารจัดการต่อเรือโป๊ะเอง ซึ่งทางแผนกจะต้องสามารถนำกลยุทธ์เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ ในการทำงานจริงโดยศึกษาจากขั้นตอนกระบวนการนำเข้าถ่านหินด้วยโปรแกรม Microsoft Project ตลอดจนสร้างมุมมอง การบริหารจัดการความเสี่ยงแบบองค์รวม (Holistic of Risk Management) และกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management Framework) รวมทั้งสร้างดัชนีชี้วัดและเป้าหมาย (Key Performance Indicator) ให้เกิดผลลัพธ์ที่สามารถบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน การประยุกต์ใช้กลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยลดต้นทุนการขายของบริษัทเพื่อไม่ให้เกิดรายจ่ายของค่าปรับเรือ (Demurrage Money) ขณะเดียวกันยังส่งผลให้บริษัทมีรายรับค่าเงินรางวัล (Despatch) จากการทำการขนถ่ายถ่านหินเสร็จสิ้นก่อนเวลาที่กำหนด ทั้งนี้จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการขนส่งทางน้ำของบริษัทให้แข่งขันกับผู้ประกอบการ ถ่านหินรายอื่นต่อไป
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1401
Other Identifiers: TP MS.018 2558
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.018 2558.pdf3.48 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.