Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1605
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของธุรกิจแผนธุรกิจอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยปลายเท้าตก "เดินดี" |
Authors: | ปฐมเดช อุตรวณิช |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม การเงิน การศึกษาความเป็นไปได้ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยปลายเท้าตก |
Issue Date: | 17-May-2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2559 |
Abstract: | บริษัท แอซซิสทีฟ รีแฮบ จำกัด จึงก่อตั้งขึ้นเนื่องจากเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ของผลิตภัณฑ์เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพฤกษ์ที่มีปัญหาการเดินจากปลายเท้าอ่อนแรง จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาไฟฟ้าเพื่อทำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ผู้ป่วยใช้งานได้ง่ายขึ้น ช่วยกระตุ้นสมองในการเรียนรู้ด้วยเซลล์สมองที่ยังเหลืออยู่ทดแทนส่วนที่เสียไป และสนับสนุนนักกายภาพบำบัดที่ต้องการเครื่องมือการทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาในราคาที่เหมาะสม กลุ่มเป้าหมายหลักของบริษัทคือ นักการภาพบำบัดที่จะช่วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้มั่นใจในการใช้เครื่องและซื้อเครื่องเดินดีถ้าได้รับการแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์โดยตรง และกลุ่มเป้าหมายรองคือ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อาการปลายเท้าตก บริษัทฯวางกลยุทธ์ช่วง 5 ปีแรก ในการเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งมุ่งเน้นให้นักกายภาพบำบัดสนใจในเครื่องเดินดี ขายเครื่องเดินดีได้ง่าย และมีกำไรในการขายเครื่องเดินดี เพื่อที่จะแนะนำและขายเครื่องเดินดีให้กับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อาการปลายเท้าตก ส่วนกลุ่มผู้ป่วยจะใช้การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยรู้จักเครื่องเดินดี สามารถหาข้อมูลต่าง ๆ จากเครื่องเดินดีในช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม มีข้อมูลและได้ลองใช้เครื่องเดินดี หลังจากนั้น ในปีที่ 6 เป็นต้นไป เมื่อสินค้าได้เป็นที่รู้จักและเกิดความเชื่อมั่นแล้ว ทางบริษัทจะขยายสาขาไปยังจังหวัดหลัก ๆ ในภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช เป็นต้น เพื่อยกระดับการบริการ รวมถึง เป็นศูนย์การอบรม ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ การประเมินอาการผู้ป่วย การติดตามการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยที่รูปแบบธุรกิจในช่วงแรกเน้นจ้าง ผลิต และนำมาประกอบเป็นสินค้าพร้อมจำหน่ายที่บริษัท ตรวจสอบคุณภาพเองก่อน และมีกิจกรรมการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์โดยพนักงานของตนเอง เมื่อเกิดปัญหาการใช้งานเครื่องเดินดีทางบริษัทจะทำหน้าที่ซ่อมเปลี่ยนอะไหล่ให้ ส่วนด้านความเป็นไปได้ทางการเงินของแผนธุรกิจนี้ โครงการนี้ใช้เงินลงทุน 3,077,000 บาท มียอดขายปีแรก 15.3 ล้านบาท โดยเป็นกระแสเงินสดอิสระของปีแรกคือเป็น 1,713,680 บาท และมีต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 5.24 ต่อปี ดังนั้นเมื่อสิ้นระยะเวลาประเมินโครงการลงทุน 5 ปี ธุรกิจมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 18,608,570 บาท อัตราผลตอบแทนภายในโครงการคิดเป็นร้อยละ 112.03 และโครงการนี้มีระยะเวลาคืนทุน 1 ปี 4 เดือน |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1605 |
Other Identifiers: | TP EM.005 2559 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.005 2559.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.