Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1626
Title: การศึกษาอิทธิพลของเว็บไซต์ Youtube ที่มีต่อการ Download เพลงบนแอพลิเคชั่น Music streaming = The study of the influence of youtube that affect music download on music streaming.
Authors: ชญานนท์ รักเรียน
Keywords: การตลาด
ํYoutube
Music Streaming
Issue Date: 18-May-2016
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2558
Abstract: เว็บไซต์ YouTube เป็นสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีรูปแบบเป็นการแชร์เรื่องราวที่ตนเองต้องการจะสื่อสาร เรื่องราว ต่างๆ กับผู้ใช้ท่านอื่นๆผ่านคลิปวิดีโอ โดยเว็บไซต์ YouTube มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคน (Statistics-YouTube, 2558) ทางผู้ประกอบการค่ายเพลงต่างๆจึงได้เล็งเห็นช่องทางที่จะทำการโปรโมทเพลงที่เข้าถึงผู้ฟังได้มาก และตรงเป้าหมายมากกว่า การโปรโมทผ่านวิทยุ หรือ โทรทัศน์แบบในอดีต โดยการอัพคลิปเพลง หรือ Music Video ลงบนเว็บไซต์เพื่อที่จะให้ผู้ฟังเข้ามาเลือกฟังกันได้อย่างง่ายดาย และผลลัพธ์ของเพลงผ่านทาง Charts และยอด view บนเว็บไซต์ แต่เพียงการโปรโมทผ่านเว็บไซต์ YouTube และได้รับรายได้จากค่าโฆษณาเพียงอย่างเดียว คงไม่พอต่อการทำธุรกิจเพลง ดังนั้นจึงมีแอพพลิเคชั่นหนึ่งที่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการ คือ Music Streaming Service เป็นการรวบรวมเพลงเข้ามาเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้ฟังเพลง โดยจะสามารถโหลดเพลงได้หลายเพลง โดยเหมาจ่ายเป็นเดือน เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าให้กับผู้บริโภคที่สามารถดาวน์โหลดเพลงได้ไม่จำกัด จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้ทำวิจัยจึงได้มีความสนใจที่จะศึกษาอิทธิพลของเว็บไซต์ YouTube ที่มีผลต่อการ Download เพลงบนแอพพลิเคชั่น Music Streaming เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจเพลงของค่ายเพลงต่อไป โดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำแบบสอบถาม 100 ชุด ผ่านแอพพลิเคชั่น Google form โดยกลุ่มตัวอย่างจะเป็นผู้ที่เคยดาวน์โหลดเพลงถูกกฎหมายเท่านั้น กรอบของงานวิจัยนี้ มีตัวแปรต้น คือ พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ YouTube พฤติกรรมการฟังเพลง และ อิทธิพลจากเว็บไซต์ YouTube ที่มีผลต่อการดาวน์โหลดเพลง ส่วนตัวแปรตามคือการดาวน์โหลดเพลงบนแอพพลิเคชั่น Music Streaming จากแบบสอบถาม 100 ชุด มีผู้ที่ใช้ Music Streaming 61% และ ผู้ดาวน์โหลดเพลงรูปแบบ Single Download อีก 39% เป็นหญิง 61% และเป็นชาย 39% อายุ 21 – 30 ปี 68% การศึกษาระดับปริญญาตรี 76% อาชีพนักเรียน นักศึกษา 72% รายได้ น้อยกว่า 15,000 บาท 72% โดยผลที่ได้คือ อิทธิพลที่มีผลต่อการดาวน์โหลดเพลงบนแอพพลิเคชั่น Music Streaming มากที่สุด คือแนวเพลง ที่ระดับความเห็นด้วย 4.48 ส่วนการกด Subscribe Channel และ Charts ระดับความเห็นด้วยอยู่ที่ 3.28 และ 2.74 ตามลำดับ อยู่ในระดับปานกลาง ยอด Views, Likes และ Comments อยู่ในระดับน้อย ที่ระดับความเห็นด้วย 2.62, 2.09 และ 1.91 ตามลำดับ
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1626
Other Identifiers: TP MM.038 2558
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.038 2558.pdf922.37 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.