Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1764
Title: การศึกษาทัศนคติต่อการมีบุตรของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล = Generation Y attitudes toward having a baby.
Authors: วริษา สุระพัฒน์
Keywords: การตลาด
ทัศนคติ
เจเนอเรชั่นวาย
การมีบุตร
ประชากรศาสตร์
Issue Date: 30-May-2016
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2559
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการมีบุตรของคนเจเนอเรชั่นวาย โดยศึกษาถึงความต้องการมีบุตรในอนาคต คุณค่าและความสำคัญของบุตร รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการมีหรือไม่มีบุตร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวมรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 – 35 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติ Chi-Square, Independence t-test และ One way ANOVA ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-30 ปี โสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้อยู่ในช่วง 15,001-35,000 บาท และส่วนใหญ่ยังไม่มีบุตร ด้านทัศนคติต่อความต้องการมีบุตร พบว่าส่วนใหญ่ยังต้องการมีบุตร โดยเห็นว่าบุตรมีคุณค่าทางจิตใจสำหรับพ่อแม่ และบุตรทำให้ชีวิตครอบครัวสมบูรณ์ ในส่วนการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการมีหรือไม่มีบุตร ในส่วนของทัศนคติต่อคุณค่าและความสำคัญของบุตรกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกันมีทัศนคติในเรื่องบุตรเป็นผู้ดูเเลพ่อเเม่ยามชราแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกันมีทัศนคติต่อในเรื่องบุตรเป็นผู้สืบสกุลและทรัพย์สินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันมีทัศนคติต่อความมีอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกันมีทัศนคติต่อความมีอิทธิพลจากนโยบายหรือสวัสดิการของรัฐเกี่ยวกับการมีบุตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1764
Other Identifiers: TP MM.007 2559
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.007 2559.pdf2.69 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.