Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1892
Title: พฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการ Co-working space ในเขตกรุงเทพมหานคร = Behaviors and factors influencing upon co-working space's users in Bangkok metropolitan.
Authors: วรันยณัฐ ภาคภูมิ
Keywords: การตลาด
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Co-working space
Issue Date: 16-Nov-2016
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2559
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ Co Working Space รวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการ Co-Working Space ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ SPSS กำหนดนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 1) ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.5 มีอายุระหว่าง 23 - 30 ปี ร้อยละ 38.0 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.5 รายได้ระหว่าง 45,001-60,000 บาท ร้อยละ 22.5 ทำธุรกิจส่วนตัว/ เจ้าของกิจการ/ ธุรกิจ Start Up ร้อยละ 40.0 สายอาชีพ Graphic Design ร้อยละ 16.0 2) ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีจุดประสงค์หลัก คือ ต้องการพื้นที่ในการทำงาน โดยชอบสถานที่ที่สะดวกในการเดินทาง ปัญหาที่พบ คือ ราคาสูงเมื่อเทียบกับบริการที่ได้รับ เข้าใช้บริการ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และใช้เวลา 3 ชั่วโมงต่อครั้ง เดินทางด้วยรถไฟฟ้า แพคเกจค่าใช้บริการเป็นแบบรายวันอยู่ระหว่าง 201-300 บาทต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมคือค่าเครื่องดื่ม ใช้ Share desk / Common desk บ่อยที่สุด ใช้ข้อมูลจากเพื่อน/คนรู้จักสำหรับตัดสินใจใช้บริการ บุคคลที่มาใช้บริการพร้อมกัน คือ เพื่อนร่วมงาน เหตุผลที่เลือกใช้บริการ คือ สถานที่ที่เหมาะสมต่อการทำงาน และจะแนะนำผู้อื่นให้มาใช้บริการ 3) บริการที่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ต้องการ คือ เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง รองลงมา ได้แก่ High speed internet 100 Mb และต้องการล๊อคเกอร์เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สิน 4) ผู้ใช้บริการให้ระดับความสำคัญปัจจัยด้านส่วนประสม ทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ 5) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษา ส่งผลต่อระยะเวลาที่ใช้บริการ Co-Working space ต่อครั้ง ส่วนรายได้ และอาชีพ ส่งผลต่อระยะ เวลาและจำนวนครั้งที่ใช้บริการ Co-Working space 6) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านสถานที่ และด้านบุคลากรที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านจำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการ Co-Working Space ต่อสัปดาห์ ส่วนระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านกระบวนการที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านระยะเวลาที่ใช้บริการ Co-Working Space ต่อครั้ง
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1892
Other Identifiers: TP MM.050 2559
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.050 2559.pdf728.44 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.