Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2316
Title: | กลยุทธ์และแผนการตลาดของศูนย์รวมสินค้าและบริการครบวงจร สำหรับผู้ที่ชื่นชอบตุ๊กตาและของเล่นเพื่อการสะสม |
Authors: | อินทิรา อรัญศรี |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม กลยุทธ์ แผนการตลาด ตุ๊กตา ศูนย์รวมสินค้า การสะสม |
Issue Date: | 28-Nov-2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2560 |
Abstract: | ศูนย์รวมสินค้าและบริการครบวงจรสำหรับผู้ทื่ชื่นชอบตุ๊กตาและของเล่นเพื่อการสะสม เป็นร้านที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองและเติมเต็มความต้องการของคนรักตุ๊กตาและของเล่น โดยใช้ชื่อว่า บริษัท โดบี้คอมมูนิตี้สเปซ จำกัด ซึ่งของเล่นกลุ่มนี้เป็นของเล่นตุ๊กตาประเภท Doll & Accessories(Ball Jointed Doll, Animator, Blythe, Licca, Sonny Model) และกลุ่ม Collectible Toy ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง บริษัทได้ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสังคมของกลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้เล่น มีสินค้าและบริการอย่างครบวงจร มีการรับประกัน และบริการหลังการขาย ให้คำแนะนำในการดูแลรักษา มี Workshop สำหรับผู้รักงานฝีมือเกี่ยวกับตุ๊กตา รวมไปถึง Community Space สำหรับกลุ่มผู้รักและหลงใหลในตุ๊กตาและของเล่นสะสมอย่างแท้จริง การที่ได้รักและหลงใหลของเล่นกลุ่มนี้ รวมถึงได้เป็นทั้งผู้เล่นและผู้ขายทำให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงทั้งคนทั้งสองกลุ่ม อีกทั้งยังสามารถมองเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ปัญหาการขาดแคลนตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่น่าเชื่อถือ การต้องรอคิวเพื่อเรียน Workshop ของผู้รักงานฝีมือเพราะ Artist ผู้สอนไม่มีพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับการสอนที่เหมาะสม ความต้องการพื้นที่ในการขายสินค้าของผู้ค้าออนไลน์ และความต้องการพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมของผู้เล่น ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของแนวคิดธุรกิจบริษัท โดบี้คอมมูนิตี้สเปซ จากที่มาของแนวคิดธุรกิจ บริษัทโดบี้คอมมูนิตี้สเปซ ได้จัดสรรและออกแบบในการให้บริการ ที่ครบวงจรที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง โดยมีบริการพื้นที่ให้เช่าขายสินค้า, Café, Studio ถ่ายภาพ เป็นตัวแทนจำหน่ายตุ๊กตาแบรนด์ DollClans,Lati มีบริการตู้กาชาปอง(ตู้หยอดเหรียญเพื่อสุ่มของเล่น) ออกแบบและผลิตเฟอร์นิเจอร์ตุ๊กตา รวมถึงเป็นสถานที่ที่สามารถมารวมกลุ่ม พูดคุย พบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันของผู้รักการเล่นและการสะสม มีพื้นที่ให้บริการในการเรียนรู้ ฝึกฝน เกี่ยวกับงานฝีมือ (Workshop) ตามความชอบของผู้เล่น เช่น การเรียนตัดเย็บชุดตุ๊กตา การแต่งหน้าตุ๊กตา เป็นต้น การให้บริการดังที่กล่าวมานี้นอกจากจะตอบโจทย์ความต้องการในการเล่นแล้วยังส่งเสริมให้ก่อเกิดสังคมผู้เล่นของสะสมที่ใหญ่ขึ้นไม่ใช่เป็นของเล่นเฉพาะกลุ่มเล็กๆต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ตลาดของเล่นประเภทนี้จะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2316 |
Other Identifiers: | TP EM.005 2560 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.005 2560.pdf | 6.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.