Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2320
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเข้าสู่ตลาดและการเงินของธุรกิจแบตเตอรี่สำรองฉุกเฉินสำหรับใช้ครั้งเดียว Zuperzup
Authors: วาทิต เด่นทรัพย์สิน
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
การเงิน
แบตเตอรี่
การเข้าสู่ตลาด
Zuperzup
Issue Date: 28-Nov-2017
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2560
Abstract: ผลิตภัณฑ์ Emergency Nanocharger หรือแบตเตอรี่สำรองฉุกเฉินขนาดพกพา แบบไร้สาย มาพร้อมกับหัวชาร์จ Multiport ที่รองรับสมาร์ทโฟนทั้งระบบAndroid และIOS มีน้ำหนักเพียง 30กรัม ภายใต้ชื่อแบรนด์ ZUPERZUP ด้วยแนวคิด NO.1 EMERGENCY NANO CHARGER ให้คนไทยได้เพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานสมาร์ทโฟนในระหว่างประกอบกิจกรรมต่างๆระหว่างวัน และไม่พลาดโอกาสสำคัญที่จะเกิดขึ้นในทุกๆ วินาทีของชีวิต ZUPERZUP มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 3คน ซึ่งทั้ง 3ค นมีมาจากคนละสายวิชา และมีสมาชิกหนึ่งท่านมีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดงานคอนเสิร์ตต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงมีความสัมพันธ์กับเของธุรกิจผับบาร์ต่างๆอีกด้วย ส่วนสมาชิกอีกหนึ่งท่านประกอบธุรกิจโรงงานขึ้นรูปพลาสติกและบรรจุภัณฑ์กระดาษ ซึ่งสามารถประกอบชิ้นงาน และผลิตบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมีคุณภาพในต้นทุนที่ต้องการ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นการใช้งานแบบฉุกเฉิน หรือผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องใช้ในระหว่างประกอบกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นการตั้งราคาจำหน่ายจึงสามารถตั้งได้สูงได้ โดยช่วงแรกทางกลุ่มจะสั่งผลิต EMERGENCY NANO CHARGER จากพาร์ทเนอร์ต่างประเทศที่มีมาตรฐาน โดยโมเดลที่สั่งผลิตจะถูกกำหนดสัญญาให้ทางเราเป็นตัวแทนจำหน่ายเจ้าเดียวในประเทศไทย วิธีการจำหน่ายสินค้าจะเป็นรูปแบบของการซื้อมาขายไปในช่วงแรก และเน้นขายในราคาส่ง (Business to business) ให้กับร้านค้า ผับ บาร์ ผู้จัดงานคอนเสิร์ต โดยทางเราจะจัดทำสื่อโฆษณาต่างทั้งออนไลน์ และออฟไลน์เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น FACEBOOK PAGE (โปรโมทโพสต์), Standy หรือRoll-up, โปสเตอร์ติดในห้องน้ำผับ, Viral clip และที่สำคัญเมื่อลูกค้าใช้งานเสร็จแล้ว สามารถคืนสินค้าได้ โดยทางเราจะมีการซื้อคืนในอีกราคาหนึ่งเพื่อบรรจุแบตเตอรี่ใหม่ โดยจะทำการประกอบที่โรงงานของสมาชิกหุ้นส่วน ทางเราเรียกวิธีหรือโปรแกรมนี้ว่า “ZUPBACK” เพื่อเป็นการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และใช้งานแผงอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับการทดลองตลาดในครั้งแรก บริษัทได้จำหน่ายในรูปแบบของ Business to business คือ จำหน่ายให้กับ Organizer จัดงานคอนเสริ์ตEDMงานหนึ่งในราคาส่ง จำนวน7,000ชิ้น โดยผู้ร่วมงานทุกคนจะได้รับZuperzup พร้อมบัตรเข้างาน เมื่องานคอนเสริ์ตจบลงลูกค้าให้การตอบรับที่ดี บางรายติดต่อมาทาง Facebook fanpage และ Line@ เพื่อขอซื้อปลีก เงินลงทุนทั้งหมดในการเริ่มต้นธุรกิจ 3,437,000 บาท แบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคาร 1,000,000 บาท และเงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นทั้งหมด 2,437,000 บาท โดยแบ่งสัดส่วนของหุ้นเท่าๆ กัน 3 ส่วน ส่วนละ 33.33% ต่อคน หรือลงทุนคนละ 812,333.33 บาท จากการประมาณการโครงการในเวลา 5 ปี โครงการแผน ธุรกิจของทางบริษัทจะมีมูลค่าโครงการปัจจุบันสุทธิ (NPV) อยู่ที่ 27,800,397 บาท และให้อัตรา ผลตอบแทนภายใน (IRR) ที่ 149.53% ในระยะเวลาคืนทุน 8 เดือน โดยมีจุดคุ้มทุน (Break-Even) ที่ 41,675 ชิ้น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2320
Other Identifiers: TP EM.009 2560
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.009 2560.pdf5.27 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.