Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2324
Title: การศึกษาเครื่องมือทางเทคนิค Commodity channel index เปรียบเทียบกับการซื้อแล้วถือ =The study of technical analysis commodity channel index comparative with buy and hold strategy.
Authors: อัจฉรียา มีวาสนา
Keywords: การเงิน
Commodity channel index
Issue Date: 22-Feb-2017
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2559
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเครื่องมือทางเทคนิค Commodity Channel Index (CCI) เพื่อเปรียบเทียบกับวิธีการซื้อแล้วถือ (Buy and Hold) และเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด โดยใช้ข้อมูลของหลักทรัพย์จำนวน 90 หลักทรัพย์ในการศึกษาที่ถูกคัดเลือกมาจาก FTSE SET INDEX ซึ่งแบ่งตามมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดเป็น ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จากนั้นแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 แบบ คือ Walk Forward Analysis โดยจะใช้ข้อมูลรายวันในการทดสอบ และ Training Period - Trading Period โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นแบบรายวัน ราย 60 นาที ราย 30 นาที และราย 5 นาที ซึ่งโปรแกรมที่นำมาใช้ทดสอบกับเครื่องมือทางเทคนิคดังกล่าวคือ Metastock และสามารถสรุปผลการศึกษาในครั้งนี้ได้ว่า การทดสอบแบบ Training Period - Trading Period เป็นการแบ่งช่วงเวลา 2 ช่วง โดยในช่วงแรก (Training Period) จะทำการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด มาใช้ในการทดสอบซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงหลัง ซึ่งพบว่าเครื่องมือทางเทคนิคให้ผลตอบแทนน้อยกว่าวิธีซื้อแล้วถือ (Buy and Hold) ในทุกช่วงเวลา และยังให้ผลตอบแทนต่ำกว่าค่า SET INDEX ในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบด้วย การทดสอบแบบ Walk Forward Analysis เป็นการนำค่าพารามิเตอร์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดจากการทดลองซื้อขายหลักทรัพย์ใน 5 ปีย้อนหลังมาทดสอบต่อใน 1 ปีถัดไป ขยับไปเรื่อยๆ ทีละ1 ปี งานวิจัยนี้เริ่มทดสอบตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2559 ในข้อมูลรายวันเท่านั้น ซึ่งผลการทดสอบพบว่าในปี 2557 และ 2559 เครื่องมือทางเทคนิคให้ผลตอบแทนมากกว่าค่า SET INDEX ในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบเป็นส่วนใหญ่ และในบางปีนั้นเครื่องมือทางเทคนิคให้ผลตอบแทนมากกว่าวิธีซื้อแล้วถือ (Buy and Hold) ด้วย เช่น ปี 2557 เป็นปีที่มีผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจทำให้เครื่องมือทางเทคนิคให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าวิธีซื้อแล้วถือ การทดสอบสรุปผลได้ว่า ในปีที่ผลตอบแทนของตลาดต่ำเครื่องมือทางเทคนิคจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าวิธีซื้อแล้วถือ (Buy and Hold) แต่เมื่อพิจารณาถึงค่าความเสี่ยงด้วยแล้ว นักลงทุนก็ต้องยอมรับกับค่าความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน และการเพิ่มเงื่อนไข เช่น การหยุดขาดทุน (Stop/Loss) อาจส่งผลให้เครื่องมือทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2324
Other Identifiers: TP FM.018 2559
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.018 2559.pdf2.42 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.