Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2341
Title: กลยุทธ์การบริหารสถาบันกวดวิชา เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยผลสัมฤทธิ์ขององค์กร =
Authors: ธนวรรณ คำอาจ
Keywords: การแข่งขัน
การจัดการและกลยุทธ์
องค์กร
สถาบันกวดวิชา
Issue Date: 17-Dec-2017
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2560
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารการศึกษาของสถาบันกวดวิชาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 2. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถาบันกวดวิชา เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยใช้ผลสัมฤทธิ์ขององค์กร โดยมีคำถามวิจัย คือ กลยุทธ์การบริหารสถาบันกวดวิชาแบบใด ที่สามารถทำให้มีจำนวนการสอบเข้าได้มากขึ้นหรือคงที่ เมื่อปริมาณนักเรียนเพิ่มขึ้น โดยใช้กรณีศึกษาจากสถาบันกวดวิชาธนวรรณในเขตจังหวัดราชบุรี ซึ่งตรงกับคุณลักษณะ คือ (1) เป็นโรงเรียนที่จดทะเบียนและได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ (2) เป็นโรงเรียนที่ผ่านการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาจากคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบ (สช.) (3) เปิดทำการเรียนการสอนไม่ต่ำกว่า 25 ปี เพื่อแสดงถึงความมั่นคง (4) มีจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเตรียมทหารแต่ละปีในปริมาณที่เพิ่มขึ้นหรือคงที่ (5) จำนวนนักเรียนที่เรียนไม่ต่ำกว่า 200 คน ต่อภาคการศึกษาหรือต่อหลักสูตร ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 14 ท่าน ใช้การเก็บเอกสาร และการสังเกตการณ์แบบเปิดเผยตัว ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มี9ปัจจัยคือ 1) แนวคิดในการบริหารสถาบันกวดวิชา 2) พันธมิตร 3) การปรับตัวเชิงกลยุทธ์ 4) การตัดสินใจเรียนต่อเนื่องของลูกค้า 5) การวัดผลการดำเนินงาน 6) การพัฒนาบุคลากรครู 7) การรักษาบุคลากร 8) การยกระดับการวัดผล 9) ผลลัพธ์ และกลยุทธ์ที่ใช้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมี 11 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การขยายหลักสูตร 2) กลยุทธ์การสร้างความเชื่อมั่น 3)กลยุทธ์ทางพันธมิตร 4) กลยุทธ์การบริหารเชิงรับ 5) กลยุทธ์การบ่มเพาะ 6) กลยุทธ์แบบผสมผสาน 7) กลยุทธ์การสร้างข้อสอบ 8) กลยุทธ์การสร้างครู 9) กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจ (Employee Engagement) 10) กลยุทธ์เชิงแก้ไข 11) กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจ (Student Engagement)
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2341
Other Identifiers: TP MS.020 2560
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.020 2560.pdf3.45 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.