Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2441
Title: ความต้องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการแสวงหาข้อมูลบนเฟสบุ๊ค =The study of uses and sanctification of information seeking on Facebook.
Authors: จิรนันท์ สรนุวัตร
Keywords: การจัดการธุรกิจ
ความพึงพอใจ
Facebook
การใช้ประโยชน์
การแสวงหาข้อมูล
Issue Date: 23-Feb-2017
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2559
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการแสวงหาข้อมูลบนเฟซบุ๊คของผู้ใช้งานเฟซบุ๊คในกรุงเทพมหานคร และสามารถนำผลการวิจัยไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กรต่อไป โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้งานเฟซบุ๊คที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ใช้งานที่มีความเคลื่อนไหวบนเฟซบุ๊ค (Active users) ไม่เกิน 3 เดือนย้อนหลัง นับตั้งแต่วันที่เก็บข้อมูล จำนวน 150 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (68%) และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี (64%) มีการใช้เฟซบุ๊คทุกวัน (91%) ในช่วง 18.01-24.00 น. (79%) โดยใช้ครั้งละ 15-30นาที (35%) มีการใช้ประโยชน์ด้าน HP มากที่สุด (4.09) และใช้ด้าน SS น้อยที่สุด (3.71) ซึ่งแตกต่างจากผลการวิจัยของคุณแอสการ์ ในส่วนของความสัมพันธ์นั้นพบว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจะใช้งานช่วง 12.01-18.00 น. แต่ปริญญาตรีจะใช้งานช่วง 18.01-24.00 น. ผู้ที่ใช้ 1-2วัน/สัปดาห์จะสัมพันธ์กับการใช้ด้าน HP,SB,CTI ตามลำดับ และถ้าผู้ใช้น้อยกว่า 15 นาทีจะสัมพันธ์กับการใช้ด้าน HP แต่ถ้าใช้มากกว่า 15 นาทีจะสัมพันธ์กับการใช้ด้าน SS และช่วงเวลา 12.01-18.00 น. มีความสัมพันธ์กับการใช้ด้าน HP ในส่วนของความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจพบว่าสัมพันธ์ทุกด้านโดยที่ด้าน CTI มากที่สุด ด้าน HP ปานกลางและด้าน SS น้อยที่สุด สุดท้าย ผู้วิจัยขอเสนอแนะแนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ดังนี้ 1. เชิงวิชาการ การนำทฤษฎี Information Seeking in Facebook Scale ไปใช้ในบริบทของสังคมไทย ควรให้ความสำคัญหรือศึกษาในรายละเอียดของปัจจัยด้านความสุขจากการรับข้อมูล (Hedonics Proclivity) มากที่สุด 2.) เชิงปฏิบัติ ข้อมูลที่ให้ความสนุกสนานหรือความบันเทิงจะได้รับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้ข้อมูลยังควรความชัดเจน ครบถ้วนและถูกต้อง เนื่องจากผู้ใช้งานไทยอาจจะไม่นิยมถาม-ตอบคำถาม เห้นได้จากการใช้ประโยชน์ด้านการหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงบุคคล (Social Searching) ที่ไม่มากเท่าที่ควร 3.) 3. เชิงนโยบาย ควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัย จากภัยคุกคามในการใช้เฟซบุ๊ค เนื่องจากเป็นข้อแนะนำที่ผู้ใช้งานเฟซบุ๊คเสนอมากที่สุด
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2441
Other Identifiers: TP BM.029 2559
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.029 2559.pdf2.82 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.