Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2448
Title: | สภาพปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ขนาดเล็ก =Skilled labor shortage in automotive small business. |
Authors: | วรินภร อุ่นที |
Keywords: | การจัดการธุรกิจ แรงงาน ช่างยนต์ ฝีมือแรงงาน |
Issue Date: | 23-Feb-2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2559 |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ และแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ขนาดเล็กในจังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 7 ราย ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ขนาดเล็ก 4 ราย ที่มีระยะเวลาในการประกอบการมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ผ่านวิกฤติการขาดแคลนแรงงานมาอยู่เรื่อยๆ หลายรอบ และเป็นร้านที่มีชื่อเสียงในตำบล อำเภอ หรือจังหวัด รวมไปถึงอาจารย์สถาบันวิทยาลัยการอาชีพ 1 ราย และช่างยนต์ 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ (Interview Guide) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจะนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนแรงงานที่ไม่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ ซึ่งมีความต้องการแรงงานฝีมือเป็นอย่างมาก และพบว่าอุปทานแรงงานช่างยนต์มีอยู่มาก แต่ทว่าไม่ตรงกับอุปสงค์ของแรงงาน และมีปัญหาการเข้าออกของแรงงานที่สูง และพบว่าแรงงานกึ่งฝีมือจะมีค่อนข้างมากกว่าแรงงานฝีมือ กลุ่มตัวอย่างไม่มีการติดต่อขอแรงงานกับสถาบันวิทยาลัยการอาชีพ โดยพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน ได้แก่ ส่วนต่างของค่าแรง ปัญหาส่วนตัวของแรงงาน ปัญหาของแรงงานต่างด้าว ปัญหาของแรงงานไทย และผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงนิยมไปทำงานโรงงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการหาแรงงานใหม่เข้ามาทดแทน และการจ้างแรงงานเกินจากความต้องการของสถานประกอบการ โดยมีช่องทางการหาแรงงานด้วยวิธีการฝากบอกต่อ ติดประกาศหน้าร้าน และติดต่อแรงงานเก่า นอกไปจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างความผูกพันของพนักงานกับสถานประกอบการ โดยมีการกำหนดวันหยุด การจัดหาอุปกรณ์ทุ่นแรง มีความเป็นกันเอง ดูแลเอาใจใส่พนักงาน ให้ความช่วยเหลือในยามคับขัน มีการให้รางวัล โบนัส รวมไปถึงการจ้างแรงงานต่างด้าว และมีกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 25 ตัดสินใจปิดส่วนของงานซ่อม |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2448 |
Other Identifiers: | TP BM.035 2559 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.035 2559.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.