Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2452
Title: การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนทั้งแบบวางแผนและไม่วางแผน = The study of factors affecting to planed and unplanned clean food consumption behavior.
Authors: ศรุติ เจริญธรรม
Keywords: การจัดการธุรกิจ
พฤติกรรมการบริโภค
การวางแผน
อาหารคลีน
Issue Date: 23-Feb-2017
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2559
Abstract: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คนเป็นเพศหญิงร้อยละ 70 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปีคิดเป็นร้อยละ 62 การศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 61 ส่วนมากทำอาชีพในบริษัทเอกชนคิดเป็นร้อยละ 74 มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 15,000 – 30,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 45.7 และร้อยละ 77 มีสถานภาพโสด สำหรับระดับความรู้เกี่ยวกับอาหารคลีนของกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีความรู้เกี่ยวกับอาหารคลีนในระดับดีมากถึงร้อยละ 78.6 หลังจากการจัดกลุ่ม พบกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการวางแผนทั้งสิ้นจำนวน 39 คน ซึ่งร้อยละ 74.2 เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปีคิดเป็นร้อยละ 67.7 มีการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 67.7 ส่วนมากทำอาชีพในบริษัทเอกชนคิดเป็นร้อยละ 67.7 มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 15,000 – 30,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 38.7 และร้อยละ 80.6 มีสถานภาพโสด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการวางแผน จะมีลักษณะที่แตกต่างจากลุ่มอื่นๆอย่างชัดเจน คือ การบริโภคอาหารคลีนมีการวางแผนมาแล้วอย่างดีโดยไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนัก ไม่ได้รับประทานอาหารคลีนเพราะคนรอบข้างหรือสิ่งกระตุ้นรอบตัวต่างๆ และมักไม่ค่อยให้คำแนะนำหรือเชิญชวนผู้อื่นมาร่วมรับประทานอาหารคลีน นอกจากนั้นพบว่ากลุ่มนี้ส่วนมากมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนครั้งล่าสุด คือเมื่อวาน ความถี่ในการบริโภคอาหารคลีน คือ สัปดาห์ละ1-2 ครั้ง และมีค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารคลีนต่อครั้งอยู่ที่ 50-100 บาท สำหรับผลการศึกษาการวิเคราะห์ความถดถอย ระหว่างพฤติกรรมการวางแผนและไม่วางแผน (ตัวแปรอิสระ) กับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน(ตัวแปรตาม) ทั้ง 3 พฤติกรรม คือ การบริโภคอาหารคลีนครั้งล่าสุด ความถี่ในการบริโภคอาหารคลีน และค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารคลีนพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.93, 0.94 และ 0.70 ตามลำดับที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 แสดงว่าพฤติกรรมการวางแผนและไม่วางแผนจะมีความสัมพันธ์กับ ความถี่ในการบริโภคอาหารคลีนมากที่สุดใกล้เคียงกับการบริโภคอาหารคลีนครั้งล่าสุด และมีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2452
Other Identifiers: TP BM.039 2559
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.039 2559.pdf1.82 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.