Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2468
Title: | การศึกษาการปรับตัวธุรกิจครอบครัว (วัสดุก่อสร้าง) =The study of adaptation in family business (Materials construction) |
Authors: | พัชรินทร์ เกษมสุข |
Keywords: | การจัดการธุรกิจ ธุรกิจครอบครัว การปรับตัว วัสดุก่อสร้าง |
Issue Date: | 16-May-2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2559 |
Abstract: | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของธุรกิจครอบครัว(วัสดุก่อสร้าง) เพื่อวางแผนในการรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเพื่อแข่งขันในตลาดต่อไปได้และนำมาเป็นจุดแข็งในการดำเนินธุรกิจต่อไป โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าของกิจการ ทายาท หรือผู้บริหารที่มารับช่วงต่อของร้าวัสดุก่อสร้าง 5 ราย และการค้นคว้า บทความ สิ่งพิมพ์ งานวิจัย หรือเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของธุรกิจครอบครัว (วัสดุก่อสร้าง) มีดังนี้ (1) ภูมิคุ้มกัน กิจการควรมีการวางแผนในด้านบุคลากร ด้านการเงิน ด้านการกระจายความเสี่ยง (2) ความพร้อมทายาทที่มารับช่วงบริหารงานต่อ ควรมีการวางแผนเพื่อให้ทายาทมีความพร้อมที่จะมารับช่วงในการบริหารงานโดยให้ทายาทเข้ามาสัมผัสบรรยากาศในการทำงานตั้งแต่เด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคยและค่อยๆซึมซับและเรียนรู้การทำงานจริง แนะนำสาขาวิชาเรียนแก่ทายาทเพื่อในอนาคตสามารถนำมาต่อยอดในการปฏิบัติงานได้ สุดท้ายการสอนงานในขณะที่ปฏิบัติงานจริง (3) ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจครอบครัวเป็นอย่างมาก หากสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่สนิทสนมกันมากยิ่งส่งผลดีในการพูดคุยเพื่อหาทางในการแก้ปัญหาของกิจการ (4) ธรรมาภิบาล กิจการควรนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้อย่างเต็มกระบวนการ โดยแบ่งเป็นด้านหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ด้านผลตอบแทนและด้านการตัดสินใจแก้ปัญหา (5) ความต้องการลูกค้า ควรตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อกิจการ (6) การแข่งขัน ควรปรับเปลี่ยนด้านการจัดรูปแบบร้านให้ลูกค้าสามารถเดินเลือกของได้ ตราสินค้าที่ควรเพิ่มความหลากหลายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า ราคาสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกระดับ และสุดท้ายการบริการและความเอาใจใส่เพื่อสร้างความรู้สึกว่าเป็นลูกค้าที่สำคัญของกิจการ |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2468 |
Other Identifiers: | TP BM.053 2559 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.053 2559.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.