Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2492
Title: กลยุทธ์และแผนการเข้าสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์ Mr. Robot บริษัท โรโบโตะ จำกัด
Authors: อรินทรา ไตรลักขณากุล
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
แผนกลยุทธ์
การเข้าสู่ตลาด
บริษัท โรโบโตะ จำกัด
Issue Date: 20-Jun-2018
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2560
Abstract: ในยุคเริ่มต้นของอุตสาหกรรมในประเทศไทยเริ่มตื่นตัวขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ชัดเจน เช่น การยกเว้นลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร แต่โรงงานผลิตสินค้าส่งออก มักจะประสบปัญหาในเรื่องของคุณภาพ อาทิเช่น สินค้าที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด หรือสินค้าผลิตไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอัตราค่าแรงงาน รวมถึงคุณภาพแรงงานไม่ได้มาตรฐานขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทำให้เกิดความผิดพลาด หรือแรงงานลางานบ่อยส่งผลเสียต่อโรงงานที่ผลิตสินค้า เนื่องจากต้องผลิตอย่างต่อเนื่องไม่สามารถหยุดผลิตได้ บริษัทจึงได้มีแผนธุรกิจนำเข้าแขนกลอัจฉริยะเพื่องานอุตสาหกรรม “Mr.Robot” ที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ทั้งเรื่องราคา และคุณภาพ นอกจากนี้โอกาสที่ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและผลไม้กระป๋องสนใจที่จะเลือกใช้แขนกลอัจฉริยะเพื่องานอุตสาหกรรม จากผลสำรวจพบว่า ธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตร้อยละ 5-15 มี 19 โรงงาน จาก 30 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 63 และธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตร้อยละ 16-30 มี 8 โรงงาน จาก 30 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 27 และความต้องการที่จะลดต้นทุนของอุตสาหกรรมอาหารและผลไม้กระป๋อง 30 โรงงานเรียงจากมากไปน้อย ผลสำรวจพบว่า ต้องการลดต้นทุนจากการลดขั้นตอนในการทำงาน > ลดค่าแรงคนงาน > ลดพลังงาน และยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและผลไม้กระป๋อง 30 โรงงาน ผลสำรวจพบว่า ปัจจัยในการเลือกใช้แขนกลอัจฉริยะเพื่องานอุตสาหกรรมเรียงจากมากไปน้อยคือ ราคา > ประสิทธิภาพ > รูปแบบการทำงาน และจากผลสำรวจความต้องการแขนกลอัจฉริยะเพื่องานอุตสาหกรรม ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามลักษณะการใช้งาน มีการรับประกันคุณภาพของสินค้า และทดแทนในช่วงเวลาที่สินค้าเสียหาย พบว่า ทุกโรงงานสนใจที่จะใช้แขนกลอัจฉริยะเพื่องานอุตสาหกรรมแน่นอนหากมีการนำเข้ามาจัดจำหน่าย จากปัญหาและโอกาสทางธุรกิจที่กล่าวไป ทางบริษัทจึงศึกษาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของสถานประกอบการเหล่านั้นได้ และพบว่าแขนกลอัจฉริยะเพื่องานอุตสาหกรรม สามารถช่วยแก้ปัญหาของสถานประกอบการ รวมถึงความผิดพลาดของแรงงาน และระยะเวลาในการขนส่งรวมถึงต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำ
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2492
Other Identifiers: TP EM.040 2560
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.040 2560.pdf1.64 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.