Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2499
Title: กลยุทธ์ในการลดอัตราการลาออกของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสายการบิน กรณีศึกษา สายการบินนกแอร์ =STRATEGY TO REDUCE TURNOVER RATE OF CABIN CREW TO INCREASE THE COMPETITIVENESS OF AIRLINE COMPANY A CASE STUDY OF NOK AIRLINES PUBLIC COMPANY LIMITED.
Authors: ชมพูพรรณ เอกจันทร์
Keywords: การจัดการและกลยุทธ์
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
ธุรกิจสายการบิน
สายการบินนกแอร์
Issue Date: 14-Jun-2018
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2561
Abstract: วัตถุประสงค์ในการจัดทำสารนิพนธ์ฉบับนี้เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการลดอัตราการลาออก ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสายการบินนกแอร์ เนื่องมาจากการลาออก ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับสายการบินนกแอร์มาเป็นระยะเวลายาวนาน และได้ส่งผลกระทบไปยังหลายภาคส่วนและส่งผลกระทบที่ร้ายแรงมาสู่สายการบินนกแอร์นั่นคือ ผู้โดยสาร หันไปใช้บริการการเดินทางของสายการบินอื่นทดแทน ดังนั้นจึงทำให้สายการบินนกแอร์พกกับภาวะวิกฤต คือ การขาดทุนอย่างมหาศาล สารนิพนธ์ฉบับนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับสาบการบินนกแอร์ในการนำไป พัฒนาการดำเนินงานของสายการบินให้เกิดความแข็งแกร่งและสร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นให้แก่สายการบินนกแอร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนแก่สายการบินนกแอร์ได้ ในการศึกษาครั้งนี้จึงใช้กลยุทธ์โดยพิจารณาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยการใช้เครื่องมืออย่าง PESTEL Analysis , Five Force Analysis และ SWOT Analysis เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญที่ จะส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบแก่สายการบิน นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับจุดเด่น และกำจัดจุดด้อยของสายการบินไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจะต้องมีการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ มีการบริหารจัดการโครงการและการบริหารจัดการความเสี่ยง เป็นเครื่องมือที่จะนำกลยุทธ์ไปประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่สายการบินนกแอร์
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2499
Other Identifiers: TP MS.012 2561
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.012 2561.pdf1.53 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.