Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2897
Title: กลยุทธ์การเพิ่มอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารสำหรับธุรกิจการบิน กรณีศึกษาสายการบินบางกอกแอร์เวย์ =STRATEGY TO INCREASE PASSENGER LOAD FACTOR FOR AIRLINE BUSINESS BANGKOK AIRWAYS CASE STUDY.
Authors: ศุรดา โชติวรอานนท์
Keywords: การขนส่ง
การจัดการและกลยุทธ์
ธุรกิจการบิน
สายการบินบางกอกแอร์เวย์
Issue Date: 14-Jun-2018
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2561
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการฝึกการเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ของธุรกิจการบิน ในการศึกษาและวิเคราะห์พร้อมทั้งเสนอแนะกลยุทธ์การเพิ่มอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) ของธุรกิจการบิน โดยใช้กรณีศึกษาจากสายการบินบางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายนอกองค์กร การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดและมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อองค์กร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร และการวิเคราะห์ Customer Journey เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการวิเคราะห์หาต้นตอสาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis) ด้วยแผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาและกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรม ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่าจุดอ่อนที่ต้องการแก้ไข คืออัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม โดยสาเหตุที่ถูกเลือกนำมาแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ คือการสร้างความรับรู้จดจำแบรนด์และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย และสามารถเสนอกลยุทธ์ได้ คือ กลยุทธ์การตลาด ด้วยเนื้อหา (Content Marketing) โดยเป็นกลยุทธ์ระดับ ที่ฝ่ายการตลาดเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างความแตกต่างตามกลยุทธ์ระดับธุรกิจ และตอบสนองต่อกลยุทธ์ระดับองค์กร เพื่อขยายฐานลูกค้าให้องค์กรเติบโต นำไปสู่การวางแผน ปฏิบัติการ และแผนการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงขององค์กร
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2897
Other Identifiers: TP MS.008 2561
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.008 2561.pdf1.98 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.