Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2924
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ของแนวคิดผลิตภัณฑ์ปากกาซ่อมสีรถยนต์ด้วยตนเอง
Authors: ธนิยา ไผทรักษาธรรม
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
ความเป็นไปได้
ปากกาซ่อมสีรถยนต์
Issue Date: 20-Jun-2018
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2560
Abstract: ผู้ก่อตั้งมีวัตถุประสงค์ที่จะขยายธุรกิจครอบครัวเดิมที่ทำอยู่ และมีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับธุรกิจสี (บริษัท อาร์ ซี อาร์ เคหะภัณฑ์ จำกัด) จึงทำให้เริ่มมองหาโอกาสที่จะขยายจากธุรกิจเดิมที่ได้ทำอยู่ ประกอบกับมีคู่ค้าทางธุรกิจเป็นบริษัทสีพ่นรถยนต์คือ บริษัท ทีโอเอ เพอฟอร์มมานซ์ โค๊ทติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในการช่วยวางแผนสูตรสีให้เหมาะสมกับการซ่อมในรูปแบบการแต้ม จึงมองเห็นโอกาสในการออกผลิตภัณฑ์ซ่อมสีรถยนต์ในรูปแบบปากกาที่แตกต่างและมีคุณภาพดีกว่าสินค้าที่มีในท้องตลาดปัจจุบัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มาของสินค้าปากกาซ่อมสีรถยนต์ ภายใต้แบรนด์ “Pen It Pro” โดยความแตกต่างของสินค้า คือ รูปแบบหัวปากกา สูตรสีพ่นรถยนต์ และ ขั้นตอนการใช้งาน 3 ขั้นตอนเพื่อ บทสรุปผู้บริหาร (ต่อ) ความคงทน (รองพื้น สี และเคลือบเงา) โดยผลิตภัณฑ์จะเป็นรูปแบบเซ็ตสินค้า 3 แท่ง ซึ่งในขั้นตอนการผลิตทางกลุ่มมีอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสนับสนุนให้การคำนวณสูตรสี ผสมสี และ หยอดสีได้ในปริมาณที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้ทำให้ บริษัท เพน อิท โปร จำกัด สามารถใช้โมเดลธุรกิจแบบไม่สต็อกสินค้าได้ เพราะการมีพันธมิตรในการทำธุรกิจดังที่ได้กล่าวมานั้น สามารถสนับสนุนทาง เพน อิท โปร ได้ในหลายๆทาง เช่น ไม่ต้องสต็อกสีต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมาก และ สามารถสั่งผลิตได้ตามปริมาณที่ต้องการ(ไม่จำเป็นต้องสั่งผลิตคราวละมากๆ) ทำให้ช่วยลดปัญหาเรื่องของอายุการใช้งานและการเก็บรักษา เป็นต้น ทั้งนี้การที่ไม่ต้องสต็อกสินค้านั้นเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมในเรื่องแง่การลดความเสี่ยงในการลงทุนทำธุรกิจอีกด้วย โดยกลุ่มลูกค้าของ Pen It Pro สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าของรถยนต์และเจ้าของรถจักรยานยนต์ ในกลุ่มตลาดรวม (Mass Market) เช่น โตโยต้าฮอนด้า เวสป้า เป็นต้น และ กลุ่มตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เช่น เบนซ์บีเอ็มดับเบิลยู ดูคาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหารถเป็นรอยโดยเกิดจากอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี และต้องการซ่อมสีรถยนต์ให้ดูสวยงาม
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2924
Other Identifiers: TP EM.031 2560
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.031 2560.pdf3.2 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.