Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2975
Title: | แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติในสัตว์น้ำ ตรา "Mac" =BUSINESS PLAN OF NATURAL IMMUNE BOOSTER FOR MARINE BRAND “mac”. |
Authors: | ไตรสิทธิ์ ชัยทัศวัฒนา |
Keywords: | แผนธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร สัตว์น้ำ สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน |
Issue Date: | 20-Feb-2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2561 |
Abstract: | บริษัท มารีน เคมีคอล จำกัด (Marine Chemical Co., Ltd.) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีแนวคิดในการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติ ภายใต้แบรนด์ “mac” จากปัญหาโรคระบาดในกุ้ง (อีเอ็มเอส) ที่แพร่ระบาดมายังประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2555 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งของประเทศไทยประสบปัญหาอย่างรุนแรงในรอบเกือบ 30 ปี จนถึงปัจจุบันโรคอีเอ็มเอสก็ยังถูกจัดการได้ไม่หมด ทำให้เกษตรกรบางรายต้องถอนตัวออกไปจากธรุกิจนี้ แม้ว่าจะมีความพยามในการใช้ยาปฎิชีวนะเข้ามาช่วย แต่ก็ยังคงมีความกังวลในเรื่องของสารตกค้างที่มีมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติกันมากขึ้น เนื่องจากบริษัทฯ เห็นโอกาสของตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ จึงมีแนวคิดในการพัฒนาสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติในสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติและปราศจากสารเคมีตกค้าง อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ส่งให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผลิตภัณฑ์ มากยิ่งขึ้น โดยช่องทางการจัดจำหน่ายที่บริษัทฯได้วางแผนการขายได้แก่ ร้านเคมีภัณฑ์สำหรับสัตว์น้ำ และเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยที่ไม่สามารถเข้าถึงร้านเคมีภัณฑ์ บริษัทฯ ใช้เงินลงทุนที่เกิดจากการรวมหุ้นและกู้จากธนาคารรวมเป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สามารถสร้างมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 16,260,136 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 64.50% มีระยะเวลาคืนทุน (PB) ประมาณ 2 ปี 10 เดือน และมีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด (DPB) 3 ปี 2 เดือน แสดงว่าธุรกิจมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2975 |
Other Identifiers: | TP FB.009 2561 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FB.009 2561.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.