Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3098
Title: แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ผีตาโขนชุดไทย =APPROACH TO DEVELOP MARKETING STRATEGIES FOR PHI TA KHON PRODUCTS BY USING THAI CRAFTED FABRIC.
Authors: กิตติยา เสนานุช
Keywords: กลยุทธ์การตลาด
ผลิตภัณฑ์ผีตาโขน
ชุดไทย
Issue Date: 27-Aug-2019
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2562
Abstract: การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ผีตาโขนชุดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมการเลือกซื้อ รวมถึงปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผีตาโขน (Phi Ta Khon Product) ของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดเลยและนักท่องเที่ยวนอกเขตพื้นที่ ด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่เคยซื้อและไม่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ผีตาโขน แบ่งเป็น นักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดเลย จำนวน 200 คน และนักท่องเที่ยวนอกเขตพื้นที่ จำนวน 200 โดยดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงร่วมกับแบบสะดวก นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis หรือ CFA) ในการทดสอบหรือยืนยันทฤษฎี จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1)โครงสร้างของตัวแปรมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการพิจารณาจากค่าสถิติ (Goodness of Fit) 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ของส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) ได้ทั้งหมด 7 ตัวพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผีตาโขนชุดไทยชุดไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ผีตาโขนชุดไทยเดิมแทนชุดเศษผ้า และปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ผีตาโขนชุดไทยม่อฮ่อมแทนชุดเศษผ้า ตามลำดับ 3) ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผีตาโขนชุดไทยชุดไทย ได้แก่ ด้านอาชีพและรายได้ 4) นักท่องเที่ยวให้เหตุผลในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผีตาโขนชุดไทยว่าเหมาะสำหรับเป็นของเป็นของที่ระลึก 5) ปัญหาและอุปสรรคคือ ด้านสถานที่ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยังมีไม่หลากหลายช่องทาง บวกกับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ซื้อจากร้านขายของที่ระลึกและร้านค้าในแหล่งชุมชน อาจส่งผลให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ยาก และไม่เป็นที่รู้จัก
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3098
Other Identifiers: TP BM.027 2562
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.027 2562.pdf4.65 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.