Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3304
Title: แผนธุรกิจชุดตรวจสารฆ่าแมลงตกค้างในผักและผลไม้ MTMU Pesticide test kit =
Authors: มหาศาล วิชาญยุทธนากูล
Keywords: การจัดการธุรกิจ
แผนธุรกิจ
น้ำผักและผลไม้
สารเคมี
Issue Date: 19-May-2019
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2561
Abstract: สำหรับภาพรวมประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เป็นทั้งแหล่งผลิตและเพาะปลูกเพื่อบริโภคทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ แต่ด้วยปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ที่ทำลายผลผลิตระหว่างการเพาะปลูก คือ ศัตรูพืช รวมถึงแมลง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณลดลง คุณภาพของผลผลิตตกต่ำลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียรายได้ของเกษตกรด้วยเหตุนี้ทำให้เกษตรกรมีความจำเป็นที่ต้องหันมาใช้สารเคมีกำจัดแมลงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ายาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตแต่การใช้สารเคมีกำจัดแมลงหากใช้ในปริมาณมากและผิดวิธี เช่นเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนระยะเวลาที่กำหนด จะทำให้เกิดปัญหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดแมลงในผลผลิตขึ้นจากผลสำรวจของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้เปิดเผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริโภค พบว่าในประเด็นแรกภาพรวมมีผักและผลไม้ตกค้างเกินมาตรฐานนั้นสูงถึง 46.4% ประเด็นที่สองที่น่าตระหนักมากไปกว่านั้นคือการพบว่าผักและผลไม้ซึ่งได้รับตรา Q โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีตกค้างมากที่สุดถึง 57.1% และประเด็นที่สามที่น่าตกใจที่สุดคือผักและผลไม้อินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง Organic Thailand ซึ่งไม่ควรตรวจพบการตกค้างของสารเคมีกลับพบการตกค้างสูงเกินมาตรฐานถึง 25% ของจำนวนตัวอย่าง ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนตัวอย่างของผักและผลไม้ที่จำหน่ายในโมเดิร์นเทรดซึ่งผู้บริโภคต้องจ่ายแพงกว่ากลับไม่ได้มีความปลอดภัยมากกว่าตลาดสดโดยทั่วไป เพราะมีจำนวนตัวอย่างการตกค้างเกินมาตรฐานถึง 46% ในขณะที่ตลาดสดมีสัดส่วนมากกว่าเล็กน้อยที่ 48% สำหรับชุดตรวจสารฆ่าแมลงตกค้างในผักและผลไม้ในประเทศ ซึ่งการตรวจวิเคราะห์สารฆ่าแมลงในภาคสนามนี้ที่ผู้ใช้ต้องเติมรีเอเจนต์ต่างๆสำหรับการเกิดปฏิกิริยาตามลำดับขั้นตอนด้วยตนเอง จึงยังมีความยุ่งยากในการใช้งานและยังต้องอาศัยอุปกรณ์เสริมเช่น อ่างควบคุมอุณหภูมิหรือแท้งค์ใส่สารละลายสำหรับ TLC ดังนั้นทางคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้ทำการพัฒนาเครื่องมือการตรวจคัดกรองการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดแมลงในภาคสนาม โดยชุดตรวจมีวิธีการทดสอบง่ายๆ เพียงแค่ไม่กี่ขั้นตอน เนื่องจากชุดตรวจของเราใช้หลักการเซ็นเซอร์ฐานกระดาษ(Paper-based sensor) ซึ่งจะทำการเคลือบสารที่ใช้ในการตรวจทั้งหมดลงบนแผ่นทดสอบ รวมถึงมีการนำอนุภาคควอนตัมดอทซึ่งมีความเสถียรและให้ความไวต่อการตรวจวัดสูงมาใช้ ทำให้ชุดตรวจสามารถตรวจวัดสารปนเปื้อนที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าระดับมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมได้ มีขั้นตอนการทดสอบที่น้อยกว่าและให้ผลการทดสอบที่รวดเร็วเพียง 30 นาทีหรือเร็วกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในปัจจุบันระบบตลาดสินค้าเกษตรจะแบ่งออกเป็น Traditional Trade กับ Modern Trade ซึ่งระบบควบคุมคุณภาพจะมีการนำมาใช้แค่ใน Modern Trade เป็นหลัก ดั้งนั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราก็คือ Modern Trade อันประกอบไปด้วย กลุ่มโรงงานคัด บรรจุแปรรูป ผักและผลไม้ และ ห้างสรรพสินค้า เช่น Tesco Lotus Tops BigC Makro เป็นต้น คณะเทคนิคการแพทย์วางแผนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว โดยจะทำการประชาสัมพันธ์ผ่านการออกบูธและ Facebook Fanpage และมีการตั้งราคาโดยคำนึงถึงปัจจัยต้นทุนการผลิต (Cost plus pricing), ราคาที่ลูกค้าจะยอมจ่าย (Consumer-based pricing) และการเปรียบเทียบราคากับคู่แข่งในท้องตลาด (Conpetition-based pricing) คณะเทคนิคการแพทย์ใช้เงินทุนเริ่มต้นทั้งหมด 2,500,000 บาท โดยเป็นเงินทุนหมุนเวียนที่สำรองไว้สำหรับการบริหารกิจการ ซึ่งเป็นเงิน 620,000 บาท โดยในปีแรกจะมียอดขายจากชุดตรวจ 1,451,520 บาท จากการประมาณการโครงการระยะเวลา 5 ปี แผนธุรกิจชุดตรวจสารฆ่าแมลงตกค้างในผักและผลไม้ MTMU Pesticide Test Kit จะมีมูลค่าโครงการปัจจุบัน (NPV) อยู่ที่ -1,703,525.73 บาท อัตราผลตอบแทนการลงทุน ไม่สามารถคำนวนได้ และระยะเวลาคืนทุนของ โครงการใช้เวลามากกว่า 5 ปี
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3304
Other Identifiers: TP BM.078 2561
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.078 2561.pdf1.59 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.