Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3471
Title: กลยุทธ์แบบตามตลาดโดยอยู่บนพื้นฐานของช่วงเวลาของราคาสูงสุดและต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ หลักฐานเชิงประจักษ์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ =MOMENTUM STRATEGY BASED ON THE TIMING OF 52-WEEK HIGH & LOW PRICE: EMPIRICAL EVIDENCE FROM THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND & THE MARKET OF ALTERNATIVE INVESTMENT.
Authors: สิทธิพัฒน์ พุ่มเจริญ
Keywords: การเงิน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลยุทธ์แบบตามตลาด
ช่วงเวลาของราคา
Issue Date: 3-Jul-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2562
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษากลยุทธ์แบบตามตลาดโดยอยู่บนพื้นฐานของช่วงเวลาของราคาสูงสุดและต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ โดยใช้ข้อมูลจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ไปจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งหมด 771 บริษัท พบว่า ผลตอบแทนจากการใช้กลยุทธ์โมเมนตัม RP (Relative Price) มีราคาปัจจุบัน ณ วันที่ใกล้ราคาที่สูงที่สุดในรอบ 52 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับราคาปิดรายวันของหุ้นในรอบ 52 สัปดาห์ โดยร้อยละ 30 ของหุ้นที่มีการซื้อขายที่ราคาต่ำที่สุด มีผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนจากการใช้กลยุทธ์โมเมนตัม RP เท่ากับ 4.98% และผลตอบแทนในพอร์ตการลงทุนที่วัดด้วยการใช้กลยุทธ์ RR นั้น เพิ่มขึ้นในระดับกลาง โดยเพิ่มขึ้นถึง 10.82% นอกจากนี้ร้อยละ 30 ของกิจการที่มีการซื้อขายหุ้นที่ราคาสูงที่สุด ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการใช้กลยุทธ์โมเมนตัม RP เพิ่มขึ้นถึง 10.22% ผลการศึกษา พบว่า การรวมกลยุทธ์ทั้งสอง สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และนอกจากนี้หุ้นที่ซื้อขายใกล้วันที่ราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นที่ซื้อขายไกลจากวันที่ราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ซึ่งพบว่า หุ้นที่ซื้อขายใกล้ราคา สูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นที่ซื้อขายไกลราคาที่สูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ โดย RP คือ ราคาหุ้นที่สูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ซึ่งคำนวณโดย ราคาหุ้นปัจจุบัน (ราคาปิด ณ สิ้นเดือน) ส่วนด้วยราคาหุ้นที่สูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ และ RR คือ จำนวนวันที่เกิดราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ซึ่งคำนวณโดย 1 (จำนวนวันที่เกิดราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ส่วนด้วย 364 วัน) แล้วนำมาจัดเรียงในกลุ่มตัวอย่างและใช้ค่าสูงสุดในสัดส่วนร้อยละ 30 แรกของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นจัดเป็นหนึ่งพอร์ต และที่ต่ำสุดอีกร้อยละ 30 จัดเป็นอีกหนึ่งพอร์ต จากนั้นทำการจัดพอร์ตการลงทุนดังกล่าวทุกต้นเดือน และทำการถือครองเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อนำมาเปรียบเทียบผล
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3471
Other Identifiers: TP FM.032 2562
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.032 2562.pdf671.92 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.