Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3612
Title: | การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ผู้บริโภคคำนึงถึงในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชาต้านภูมิแพ้ จากถั่งเช่ามังสวิรัติ |
Authors: | ภัทรมน ไกรสมเด็จ |
Keywords: | การจัดการธุรกิจ โรคภูมิแพ้ ชาต้านภูมิแพ้ |
Issue Date: | 13-Nov-2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2563 |
Abstract: | จากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของประชากรที่เป็นโรคภูมิแพ้ในปัจจุบัน พบว่าโรคภูมิแพ้ส่งผลกระทบมากกว่า 20% ของประชากรผู้ใหญ่ และส่งผลกระทบมากกว่า 40% ในประชากรเด็ก ซึ่งผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่มีอาการรุนแรงจะแก้ไขปัญหาด้วยการรับประทานยา ซึ่งในยาจะมีสารสเตียรอยด์ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ชาต้านภูมิแพ้จากถั่งเช่ามังสวิรัติ ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย ดร.ปฐมาวรรณ ฉิมมา หัวหน้ากลุ่มวิจัยนวัตกรรมสมุนไพรและเห็ดวิทยาทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ เป็นบุคคลที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป มีพฤติกรรมการดื่มชาเป็นประจำ และเป็นโรคภูมิแพ้ กลุ่มเป้าหมายรอง คือ บุคคลที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป มีพฤติกรรมการดื่มชาเป็นประจำ แต่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ และอีกกลุ่มคือ บุคคลที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมการดื่มชาไม่สม่ำเสมอ แต่เป็นโรคภูมิแพ้ ด้านเงินลงทุน โครงการนี้ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,500,000 บาท โดยเงินลงทุนนี้จะใช้ในการเช่าอาคาร สำนักงาน ค่าอุปกรณ์สำนักงาน และ เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินโครงการผลตอบแทนในการลงทุนจากการประมาณการในระยะเวลา 5 ปี มีอัตราผลตอบแทนในการลงทุน (IRR) 69.45% มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 2 ปี 5 เดือน มีมูลค่าโครงการปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ 3,439,595.54 บาท โดยมีกำไรสะสมสุทธิ 5 ปี อยู่ที่ 6,518,510 บาท ทีมบริหารประกอบด้วย กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด ผู้จัดการฝ่ายผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้จัดการฝ่ายบัญชี |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3612 |
Other Identifiers: | TP BM.006 2563 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.006 2563.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.