Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3628
Title: การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น เพื่อจัดทำแผนธุรกิจการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (Plant-based meat) ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจ HORECA = A FEASIBILITY STUDY FOR DEVELOPING A BUSINESS PLAN OF PLANT – BASED MEAT FOR HORECA BUSINESS.
Authors: พัทธ์ธีรา เพิ่มศิริพัฒนะ
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
แผนธุรกิจ
ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์
Plant-based meat
Issue Date: 24-Nov-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2563
Abstract: บริษัท อาหารดี จำกัด (R.HAANDEE Co., Ltd.) เป็นธุรกิจที่ทาการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (Plant-based meat) ในแบรนด์อาหารดี เพื่อสร้างสมดุลทางโภชนาการแทนเนื้อสัตว์ เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้นิยมรับประทานมังสวิรัติเพิ่มขึ้นจากเหตุผลทั้งด้านสุขภาพ จริยธรรม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ตลาดสินค้าโปรตีนจากพืชมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ บริษัทฯจึงมองเห็นโอกาสและทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (Plant-based meat) โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย โดยส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีนข้าวสาลี, เห็ดแครง, แป้งข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ด, โปรตีนถั่ว และน้าบีทรูท สูตรผลิตภัณฑ์ที่ได้เมื่อนำมาคำนวณคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม พบว่า มีโปรตีน 14.03 กรัม , ไขมัน 2.99 กรัม และไม่มีคอเลสเตอรอล หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง, ไขมันต่ำ และไม่มีคอเลสเตอรอล รวมถึงไม่มีการเติมผงชูรส (NO MSG ADDED), ไม่ใส่วัตถุกันเสีย (NO PRESERVATIVE ADDED) และไม่มีส่วนผสมจากถั่วเหลือง (SOY FREE) สามารถเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่ไม่ชอบหรือผู้ที่แพ้ถั่วเหลืองได้ โดยมีการจัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบ B2B (Business to Business) มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจโฮเรก้า (HORECA) ได้แก่ โรงแรม (Hotel), ร้านอาหาร (Restaurant), คาเฟ่และธุรกิจจัดเลี้ยง (Café and Catering) เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพสูง มีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2558 มีการรายงานมูลค่าทางการตลาดของกลุ่มธุรกิจโฮเรก้าสูงถึง 974,000 ล้านบาท และเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งต้องมีการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯจึงมองเห็นถึงโอกาสและมีการวางกลยุทธ์ เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าให้กับผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจโฮเรก้า เป็นลา ดับแรกในการดำเนินกิจการ และมีกลยุทธ์ด้านช่องทางการเข้าถึงลูกค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร และสร้างความ ประทับใจให้กับลูกค้า 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) การจัดจำหน่ายช่องทางออฟไลน์ (Offline) โดยมีพนักงานขายเข้าไปนำเสนอสินค้าและให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์โดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย มีการทำอาหารให้ทดลอง ชิมก่อนตัดสินใจซื้อเพื่อสร้างความประทับใจ รวมถึงการออกบูธงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มเป้าหมายโดยตรง เช่น งาน Food & Hotel Thailand, งาน Thaifex Anuga Asia (Thailand) เป็นต้น 2)ช่องทางออนไลน์ (Online) โดยการจัดทำเว็บไซต์, เฟสบุ๊ค, ไลน์แอท และอินสตาแกรมของบริษัทฯ เพื่อรองรับและเพิ่มความสะดวกในการสั่งซื้อให้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งเป็นช่องทางการให้ข้อมูลข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆของบริษัทฯ ในด้านกระบวนการผลิตสินค้า บริษัทฯจะทำการจ้างผลิตแบบ OEM (Original Equipment Manufacturer) โดยเลือกโรงงานที่มีมาตรฐาน GMP, HACCP และฮาลาล ในการผลิตสินค้า สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วจะนาเข้าเก็บในลักษณะแช่แข็ง โดยมีการทำแช่แข็งแบบเร็ว (Quick Freezing) เพื่อควบคุมให้อาหารเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด และมีคุณภาพดีเหมือนสดใหม่ บริษัท อาหารดี จำกัด จะมีการลงทุนโดยใช้เงินทุนที่เกิดจากการรวมหุ้นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,906,000 บาท มีการคาดการณ์รายได้ในปี แรกไว้ที่ประมาณ 11.04 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น ประมาณ 27.6 ล้านบาทในปีที่ 5 โดยคาดว่าจะมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1.9 ปี ภายใต้ผลตอบแทนภายในการลงทุน (IRR) ที่ร้อยละ 107.55 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ประมาณ 12.9 ล้านบาท แสดงว่าธุรกิจมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3628
Other Identifiers: TP EM.021 2563
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.021 2563.pdf3.05 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.