Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3650
Title: | การวิจัยการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี 1112 เลิฟเวอร์ และ เฟซบุ๊กเพจ พิซซ่า ฮัท =A COMPARATIVE STUDY OF CONTENTS AND USERS ENGAGEMENT ANALYSIS ON FACEBOOK FANPAGE: A CASE STUDY OF THE PIZZA COMPANY AND PIZZA HUT. |
Authors: | กฤติกาญจน์ กันไชยา |
Keywords: | การเข้าถึง เฟซบุ๊กแฟนเพจ เนื้อหา เอ็นเกจเม้นท์ |
Issue Date: | 21-Jan-2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2562 |
Abstract: | การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์: กรณีศึกษา เฟซบุ๊ก เดอะ พิซซ่า คอมปะนี และเฟซบุ๊ก พิซซ่า ฮัท ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาทั้งสิ้น 2 ส่วน คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ กรณีศึกษา เฟซบุ๊กเพจ ของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี และ เฟซบุ๊กเพจ พิซซ่า ฮัท 2) เพื่อศึกษาปฏิกิริยาตอบกลับของแฟนเพจเฟซบุ๊กที่ตอบสนองต่อรูปแบบการนำเสนอ ของเฟซบุ๊กเพจ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี และ เฟซบุ๊กเพจ พิซซ่า ฮัท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการรวบรวมข้อมูลจากเฟซบุ๊กเปรียบเทียบกัน ลงในเครื่องมือตารางบันทึกข้อมูล (Coding Sheet) โดยมีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2562 จำนวนโพสต์ของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี จำนวน 108 โพสต์ และ พิซซ่า ฮัท 66 โพสต์ ซึ่งในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้วิจัยจะแสดงรูปแบบของการสื่อสารที่พบในเฟซบุ๊กแฟนเพจของทั้งสอง พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของเนื้อหาที่พบ ส่วนวัตถุประสงค์การวิจัยในข้อที่ 2 ผู้วิจัยจะแสดงค่าปฏิกิริยาตอบกลับของแฟนเพจโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วม (Engagement) จากแนวคิดในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเนื้อหาที่ปรากฎบนเฟซบุ๊กทั้งสองแฟนเพจ กล่าวคือ เฟซบุ๊กของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี มีรูปแบบเนื้อหาทั้งหมด 7 รูปแบบ ส่วนเฟซบุ๊ก พิซซ่า ฮัท มีรูปแบบเนื้อหาทั้งหมด 4 รูปแบบ โดยเมื่อมีการเปรียบเทียบพบว่า รูปแบบที่พบซ้ำกันมีจำนวน 3 รูปแบบ คือ 1. ข้อความพร้อมอิโมจิ ลิ้งก์และภาพนิ่ง 2. ข้อความพร้อมอิโมจิ ลิ้งก์ แฮชแท็กและภาพนิ่ง และ 3. ข้อความพร้อมแฮชแท็กและวิดีโอ โดยรูปแบบเนื้อหาที่ทั้งสองเพจเลือกนำมาใช้สูงสุด มีความตรงกัน คือรูปแบบข้อความพร้อมอิโมจิ ลิ้งก์ แฮชแท็กและภาพนิ่ง และเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในรูปแบบที่พบมากที่สุด เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ โปรโมชั่น นอกจากนี้ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบที่มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมมากที่สุด ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ถูกพบมากที่สุด |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3650 |
Other Identifiers: | TP MM.044 2562 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.044 2562.pdf | 154.28 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.