Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3660
Title: ทัศนคติต่อโครงการ "Everyday Say No To Plastic Bags" การงดแจกถุงพลาสติกหูหิ้ว ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งจากห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ =ATTITUDE TOWARDS THE CAMPAIGN “EVERYDAY SAY NO TO PLASTIC BAGS”: NO SINGLE-USE PLASTIC BAGS PROVIDED BY DEPARTMENT STORE, SUPERMARKET AND CONVENIENCE STORE.
Authors: วรรณลักษณ์ นกพึ่งพุ่ม
Keywords: ห้างสรรพสินค้า
การจัดการและกลยุทธ์
ร้านสะดวกซื้อ
ถุงพลาสติก
Issue Date: 4-Dec-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2563
Abstract: จากการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เปิดตัวโครงการ“Everyday Say No To Plastic bags” การงดแจกถุงพลาสติกหูหิ้วประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งจากห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ เพื่อลดขยะพลาสติกและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปราศจากพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2565 ตาม Road map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อโครงการนี้โดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง Generation X และ Generation Y เพื่อศึกษาทัศนคติและรวบรวมแนวทางปฎิบัติและข้อเสนอให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำไปปรับใช้ในโครงการ ผลการศึกษาพบว่ามีปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติทั้งด้านบวกและลบแบ่งได้เป็น 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านความสะดวก เนื่องจากการงดแจกถุงพลาสติกส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทาให้ผู้ซื้อรู้สึกไม่สะดวกเวลาซื้อของ 2) ด้านสิ่งแวดล้อมในการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก 3) ด้านประสบการณ์จากอดีตที่เคยได้ยินหรือพบเห็นโครงการที่คล้ายกัน 4) ด้านความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเนื่องจากเป็นโครงการที่รณรงค์ทั่วประเทศโดยมีแนวทางการปฏิบัติและการประชาสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน 5) ด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อถุงขยะพลาสติกและถุงผ้า จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้รวบรวมแนวทางปฎิบัติและข้อเสนอเพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการดังนี้ 1) ควรมีการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ในส่วนของข้อมูลโครงการให้มากขึ้นเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาของขยะพลาสติกและประโยชน์ของโครงการ 2) ควรมีถุงพลาสติกจำหน่ายในราคาที่เหมาะสมเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ซื้อ และ 3) ควรนำถุงที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเข้ามาใช้ในโครงการ
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3660
Other Identifiers: TP MS.022 2563
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.022 2563.pdf2.3 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.