Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3667
Title: | ทัศนคติของผู้บริโภค Generation Y ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (กรณีศึกษากระเป๋า Freitag) = The attitudes of generation-Y consumer towards environmental-friendly products (The case of Freitag bag) |
Authors: | ปิยพร โยธา |
Keywords: | ทัศนคติ การจัดการและกลยุทธ์ Generation Y สิ่งแวดล้อม Circular Economy |
Issue Date: | 14-Dec-2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2563 |
Abstract: | ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจแบบเส้นตรง หรือ Linear Economy เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง โดยผลิตภัณฑ์ถูกใช้งานและทิ้งเป็นขยะเป็นจำนวนมากในท้ายที่สุด ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน มลพิษเกินมาตรฐาน การฝังกลบขยะใช้ระยะในการย่อยสลาย จากผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้องค์กรและภาคธุรกิจทั่วโลกมีความตื่นตัว นานาประเทศได้ริเริ่มแนวคิดเศรษฐกิจ หมุนเวียน (Circular Economy) หรือการทำธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาทัศนคติของผู้บริโภค Generation Y ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (กรณีศึกษากระเป๋า Freitag) เพื่อศึกษารูปแบบการทำธุรกิจของกระเป๋ า Freitag ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการใช้วัสดุที่ใช้แล้ว พัฒนานวัตกรรมทำให้ผลิตภัณฑ์ให้มีชื่อเสียง และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ได้ดำเนินการ วิจัยด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้บริโภค Generation Y ที่ใช้กระเป๋ า Freitag ผลการศึกษาพบว่าทัศนคติของผู้บริโภค Generation Y ที่มีต่อกระเป๋ า Freitag นั้นมีความสัมพันธ์กันและทัศนคตินั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกเนื่องจากผู้บริโภคมีความใส่ใจและตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มของกลุ่มที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่ ผลิตจากการ Recycle Reuse หรือ Replace แนวโน้มของกลุ่มที่คานึงถึงราคาผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และแนวโน้มจากลุ่มที่มีการ ปรับตัวกับผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนาคตดีขึ้น ทัศนคติของกลุ่มดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกในทางบวกต่อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ช่องทางการรับรู้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นั้นมาจากการสื่อสารการบอกต่อจากเพื่อนและครอบครัว ซึ่งทำให้เกิดการรับรู้ของผลิตภัณฑ์และเกิดการซื้อในที่สุด ผลการวิจัยที่ได้นั้นสามารถ นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวางแผนการทำธุรกิจรักษ์โลกควบคู่ไปกับการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3667 |
Other Identifiers: | TP MS.025 2563 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.025 2563.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.