Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3668
Title: พฤติกรรมของคนไทยกับการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเดทติ้งออนไลน์ =ONLINE DATING BEHAVIOUR IN THAILAND.
Authors: กิรณา มุ่งเจริญ
Keywords: ความสัมพันธ์
การจัดการและกลยุทธ์
โซเชียลมีเดีย
เดทติ้ง
Issue Date: 14-Dec-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2563
Abstract: งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเดทติ้งออนไลน์ของคนในยุคปัจจุบันและลักษณะการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเดทติ้งออนไลน์มีผลต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อย่างไร โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ประชากรเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือบุคคลอายุระหว่าง 24-45 ปี ที่ใช้เดทติ่งออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเป็นเวลากว่า 3 เดือน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 403 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้การศึกษาแบบสุ่มแบบสะดวกโดยการแจกแบบสอบถามผ่านทางระบบออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้การ วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียวสัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS เพื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1.การสานสัมพันธ์ในแบบเพื่อน หาเครือข่ายคอนเนคชั่นจากผลการวิจัยพบว่า การที่ตัวเองเป็นคนขี้อายและเก็บตัวมีความสัมพันธ์กับการคาดหวัง ว่าจะเจอเพื่อนที่จริงใจ 2.การสานสัมพันธ์แบบคนรัก จากผลการวิจัยพบว่า สามารถเลือกคนที่ใช่เข้ามาในชีวิตได้ ความสัมพันธ์กับการคาดหวังจะเจอคนที่ตรงกับความต้องการของตัวเอง และการที่ตัวเองเป็นคนขี้อายและเก็บตัวมีความสัมพันธ์กับการคาดหวังว่าจะเจอคนที่จริงใจกับตัวเอง 3. การสานสัมพันธ์ในรูปแบบที่ผ่อนคลายจากผลการวิจัย พบว่าง่ายที่จะเริ่มต้นและจบความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับการคาดหวังว่าจะเจอกันในครั้งต่อๆไป สามารถเลือกคนที่ใช่เข้ามาในชีวิตได้มีความสัมพันธ์กับการคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ในแบบอื่นๆ เช่น คนรัก และ ข้อที่เป็นคนขี้อายและเก็บตัวคาดหวังว่าพวกเค้าจะเจอคนที่ไม่มีข้อผูดมัดหรือมีเงื่อนไข ผลการวิจัยทั้งหมดนี้สนับสนุน การศึกษาของ Kang and Hoffman (2011) พบว่าผู้ใช้งานเดทติ้งออนไลน์มักจะมองหา”คู่”ที่ตนเองพึงพอใจเพื่อความสนุก ผ่อนคลาย บรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การพบเจอกันได้”ง่าย”ในการหาเพื่อนเพื่อพูดคุยได้ตรงกับตารางเวลาของตัวเอง ความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นบนอินเทอร์เน็ตนี้สามารถขยาย และพัฒนาความสัมพันธ์กันในระยะต่อๆไป นอกจากนี้ในการศึกษาของ Cindy Hazan and Phillip Shaver (1987) เกี่ยวกับความสัมพันธ์โรแมนติกในวัยผู้ใหญ่ พบว่า ความรักในวัยผู้ใหญ่คือ ประสบการณ์ของแต่ละคนที่ร่วมกันเผชิญในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของพวกเขา ที่รู้สึกได้ถึงความเป็นมิตรและที่พึ่งพิงทางด้านจิตใจ ไว้วางใจ และรู้สึกสุขใจ ยามที่พวกเค้ารู้สึกถึงช่วงชีวิตที่ยากลำบาก นอกจากนี้ผลวิจัยยังสอดคล้องกับทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จำเป็นที่จะต้องทำความรู้จัก และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เพื่อดำรงตนอยู่ในสังคม ส่วนหนึ่งอาจ ต้องการสนองต่อความต้องการทางด้านจิตใจ นอกเหนือจากความต้องการด้านวัตถุที่สามารถจับต้องได้ เพื่อให้ตนเองรับรู้ถึงความรู้สึกความเป็นกลุ่มก้อน เป็นสมาชิก ร่วมกันซึ่งเป็ นไปตามความต้องการแบบลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ในหัวข้อที่ ว่าด้วยมนุษย์มีความต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม นอกจากนี้ในหนังสือของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพลพยอมแย้ม ผู้แต่งหนังสือ จิตวิทยาสัมพันธภาพ ,2548 กล่าวโดยสรุปว่า ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการสร้างมนุษยสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะนำมาควบคุม ความสัมพันธ์ให้ออกมาในรูปแบบที่ต้องการโดยหลักทั่วไปความสัมพันธ์ของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับคนรู้จัก ระดับเพื่อน และระดับลึกซึ้ง
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3668
Other Identifiers: TP MS.026 2563
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.026 2563.pdf754.56 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.