Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4091
Title: การจัดการโซ่อุปทานของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดอ่างทอง
Other Titles: THE SUPPLY CHAIN MANAGEMENT OF GOAT FARMERS IN ANG THONG PROVINCE
Authors: ศุภวิชญ์, ภูวประภาชาติ
Keywords: การจัดการธุรกิจ
การจัดการโซ่อุปทาน
แพะเนื้อ
การบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงแพะ
จังหวัดอ่างทอง
Issue Date: 16-Sep-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่อุปทาน ปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัดของโซ่อุปทานของแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดอ่างทองของประเทศไทย ศึกษารูปแบบกลยุทธ์ที่ เหมาะสมและเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการเลี้ยงแพะของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดอ่างทองของประเทศไทย โดยใช้่การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวนทั้งหมด 30 ฟาร์มตัวย่าง จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การหาความถี่ค่าร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมมติฐานและ ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆที่มีผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงแพะของกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรด้วย Chi-square test และการกําหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมสําหรับอุตสาหกรรมแพะในจังหวัดอ่างทอง โดยจากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1.) เกษตรกรผูเ้ลี้ยงใน พื้นที่จังหวัดอ่างทองแพะยังคงพบปัญหาในเรื่องของสุขอนามัยทางด้านคุณภาพวัคซีนและเวชภัณฑ์การสุขาภิบาลและการป้องกันโรคเป็นหลัก รองลงมาจะเป็นปัญหาในดด้านการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้ฟาร์มเลี้ยงแพะของเกษตรกรส่วนใหญ่เกือบ ทั้งหมดในจังหวัดอ่างทองต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันสุดท้ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับฟาร์ม และการเลี้ยงแพะ 2.) จากการวิเคราะห์สมมติฐานและความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆที่มีผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงแพะของกลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรด้วย Chi-square test พบว่าในด้านประชากรศาสตร์และด้านฟาร์มเลี้ยงแพะ ได้แแก่ศาสนา จำนวนคนที่สามารถช่วยงานได ้ ประสบการณ์ในการเลี้ยงแพะ คุณภาพนํ้าและคุณภาพอาหารไม่มีความสัมพันธ์กับปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงแพะ ในขณะที่ปัจจัยทางด้านราคา โครงสร้างของอุตสาหกรรมการเลี้ยงแพะ และประชากรศาสตร์กับฟาร์มเลี้ยงแพะ ในส่วนของ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพรอง รายได้ครัวเรือนต่อเดือน พื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงแพะ การกู้เงินเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเลี้ยงแพะ ระยะเวลาในการเลี้ยงแพะต่อรุ่น และระยะเวลาในการพักคอกมีความสัมพันธ์กับปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงแพะอย่างมีนัยสำคัญ 3.) การพัฒนาการผลิตแพะเนื้อเชิงพาณิชย์ให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากแพะสู้เกษตรกรและผู้ประกอบการ และ การส่งเสริมตลาดแพะในจังหวัดอ่างทอง จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัด เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมแพะในจังหวัดอ่างทอง
Description: 50 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4091
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.010 2564.pdf867.11 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.