Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4134
Title: ทัศนคติและการรับรู้คุณสมบัติของระบบผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียงที่ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: THE ATTITUDE AND PERCEPTION OF USERS TOWARD VOICE ASSISTANCE’S ATTRIBUTION THAT TAKE CARE OF THE ELDERLY PERSONS IN BANGKOK AND METROPOLITAN AREAS
Authors: เสาวลักษณ์ วิทยประภารัตน์
Keywords: การจัดการธุรกิจ
ทัศนคติ
การรับรู้
นวัตกรรม
ปัญญาประดิษฐ์
ระบบสั่งงานด้วยเสียง
Issue Date: 9-Sep-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างประชากรโลกเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชากรผูสู้งอายุ หลาย ๆ ประเทศเปลี่ยนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ขณะที่ประเทศอื่น ๆ รวมไปถึง ประเทศไทยเองก็กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เช่นกัน ปัญหาที่ตามมาหลังจากโครงสร้างสังคม มีผู้สูงอายุมากขึ้น คือ การขาดแคลนแรงงานและบุคลากรที่ใช้ในการมาดูแล ดังนั้นจึงมีการพึ่งพาเทคโนโลยี ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่เริ่มมีการนำมาใช้แล้ว คือ เทคโนโลยีด้านระบบผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียง เป็นผลให้เกิด งานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาทัศนคติและการรับรู้คุณสมบัติของระบบสั่งงาน ด้วยเสียงตามทฤษฎีการรับรู้คุณสมบัติที่ผู้ใช้งานใช้ในการช่วยดูแลผู้สูงอายุ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลสำหรับงานวิจัยผ่านการทำแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 400 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติเชิง พรรณนาซึ่งใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน การวิเคราะห์แบบตารางไขว ้(Crosstab) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยจากข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 20 – 29 ปี มีการศึกระดับปริญญาตรีหรือ เทียบเท่ามากที่สุด และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ทางด้านพฤติกรรม พบว่าผู้ตอบ แบบสอบถามที่ใช้ระบบผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียงในปัจจุบันมีจำนวน 336 คน จากทั้งหมด 400 คน โดยผู้ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ระบบของ Siri จาก Apple อุปกรณ์ที่มีการใช้มากที่สุด คือ โทรศัพท์มือถือ ความถี่ในการใช้ ระบบผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียงส่วนใหญ่คือ 2-3 อาทิตย์ต่อครั้ง ระยะเวลาสำหรับการใช้งานมากกว่า 2 ปี มากที่สุด และลักษณะการใช้งานส่วนใหญ่จะใชใ้นการถามทาง หรือ นำทาง (แผนที่/ Google Map) สำหรับด้านทัศนคติที่มีต่อระบบผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียง ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศคติในระดับเห็นด้วย ซึ่งเป็นทัศนคติใน เชิงบวก และในเรื่องการรับรู้คุณสมบัติของระบบผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียงที่ใช้ในการช่วยดูแลผู้สูงอายุ พบว่า อยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก
Description: 94 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4134
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.044 2564.pdf1.47 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.