Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4192
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: A FEASIBILITY STUDY OF WELLNESS TOURISM IN NAKHON SRI THAMMARAT PROVINCE
Authors: อธิชา, คงรักษา
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
อุตสาหกรรมเชิงสุขภาพ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Issue Date: 28-Oct-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) มีการเชื่อมโยงและส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกๆกลุ่ม รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คิดเป็นประมาณร้อยละ 15.6 ของรายได้จากการท่องเที่ยวโดยรวม และมีอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างสูง เฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปีระหว่าง ปี 2558-2563 ซึ่งมีสาเหตุมาจากนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาดี ฐานะปานกลางถึงสูง มีจำนวนวันที่พักยาวนาน และมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการท่องเที่ยวแต่ละครั้งสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป ทั้งนี้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน อันดับที่ 18 ในการจัดอันดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก โดยปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการจัดอันดับ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของประเทศ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีอยู่เดิม และคุณภาพของการ บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก จึงนับว่าประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งตลาดที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ เพราะมีความได้เปรียบและความพร้อมด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว คือ มีแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมที่หลากหลาย การเดินทางสะดวก มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม แปลก ใหม่ มีความอบอุ่นและเป็นมิตร รวมทั้งมีการแพทย์ทางเลือกที่หลากหลาย สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเชิงส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้ชื่อ “The Sense” Glampiness ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของกลุ่มจังหวัด ภาคใต้ตอนบนที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งเชิงธรรมะ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติมากมาย และ มีแนวโน้มของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี จากการวิเคราะห์โอกาสด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งสริมสุขภาพในปัจจุบัน พบว่ามีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง และลูกค้ามีตัวเลือกในการใช้บริการที่เยอะขึ้น “The Sense” Glampiness จึงสร้างเอกลักษณ์ และดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยการเลือกจุดเด่นในด้านของทำเลที่ตั้งอย่าง “หมู่บ้านคีรีวง” ที่ได้ชื่อว่าเป็น “หมู่บ้านที่มีอากาศดีที่สุด ในประเทศไทย” มีธรรมชาติล้อมรอบ เหมาะสมสำหรับการพักผ่อนเพื่อส่งเสริมดูแลสุขภาพ รวมไป ถึงการสร้างที่พักในรูปแบบ Glamping ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการให้บริการเชิงส่งเสริม สุขภาพควบคู่กับการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่หมู่บ้านคีรีวง นอกจากนี้ยังมีโอกาสใน ด้านซัพพลายเออร์ ที่ทำให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ค่อนข้างต่ำ จึงเป็นโอกาสในด้านการดำเนิน ธุรกิจและการวางกลยุทธ์ด้านราคาได้อีกด้วย กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ “The Sense” Glampiness คือ กลุ่มลูกค้าที่สนใจในการทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริม ดูแลรักษาสุขภาพ ผ่อนคลายความเครียดในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่ กลุ่มคนรุ่น ใหม่ ช่วงอายุ 25 – 35 ปี, กลุ่มวัยทำงานช่วงอายุ 36 – 50 ปี, และกลุ่มวัยใกล้เกษียณ ช่วงอายุ 51 – 65 ปี และกลุ่มเป้าหมายรอง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติและอยาก สัมผัาวิถีชีวิตชุมชนหรือวัฒนธรรมที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ “The Sense” Glampiness ใช้ “Focus Strategy” เป็นกลยุทธ์ระดับธุรกิจในการเข้าสู่ตลาดและการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มุ่งเน้นไปที่ตลาดเฉพาะ (Niche Market) เพื่อเจาะจงกลุ่ม ลูกค้าที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ผ่อนคลายความเครียด ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยสัมภาษณ์เจาะลึกลงไปที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักทั้ง 3 กลุ่ม เพื่อหาความแตกต่างทั้งในเรื่องของการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ความสนใจ ไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยว รวมไปถึงการดูแลสุขภาพ และใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง “Differentiation Strategy” ในการออกแบบการบริการ สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของทั้ง 3 กลุ่มได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ โดย “The Sense” Glampiness จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยเน้นจุดเด่นของ หมู่บ้านคีรีวง และการออกแบบที่พักในรูปแบบ Glamping ที่มีความทันสมัยและมีความเป็นมิตรกับ ธรรมชาติในทำเล ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Glamping Eco Pod และ Glamping Cottage มีอาหารเพื่อ สุขภาพที่เลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่น และสมุนไพรพื้นบ้าน ปลอดสารพิษของหมู่บ้านคีรีวง อีกทั้งยังมี การให้บริการกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละช่วงวัยที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรม Morning Nature เดินออกก กำลังกายสูดรับอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า กิจกรรม Afternoon Local Food สอนทำอาหารท้องถิ่นแบบฟิวชั่นอย่างง่าย กิจกรรม Healthy BBQ @ Night ปิ้งย่างบาร์บีคิว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์ของกิจกรรมเพื่อสุขภาพในสไตล์ Glamping ทั้งนี้ยังมีการให้บริการสปาและนวดผิวอโรมาโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของมังคุด ที่มาจากกลุ่มสมุนไพรบ้านคีรีวง บริการ “นวดศรีวิชยั” ที่เป็นเอกลักษณ์การนวดหมอพื้นบ้านของ นครศรีธรรมราช การร่วมทำกิจกรรมกับ “กลุ่มองค์กรชุมชน” ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพภายในที่พัก และการปั่นจักรยานออกไปชมธรรมชาติ สัมผัสวิถีชีวิตคนในชุมชน และบรรยากาศทั้งหมดของ หมู่บ้านคีรีวง ในด้านการตลาด “The Sense” Glampiness จะใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 7P’s เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าในทุกๆด้าน ซึ่งในด้านช่องทางการให้บริการ จะใช้ช่องทางออนไลน์เป็น ช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร สร้าง Engagement คือช่องทาง Line Official Account, Facebook Page, Instagram, Website และ OTA นอกจากนี้ในด้านการส่งเสริมการตลาด จะเน้นสร้าง Content และ Story Telling ในช่องทางออนไลน์, โฆษณาบนช่องทาง Facebook Ads รวมไปถึงจัด Sales Promotion สร้างแคมเปญเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างแคมเปญรีวิวเพื่อให้ลูกค้ากลับมาเที่ยวซ้ำ ผู้จัดทำได้วางแผนการเติบโตโดยการขยายธุรกิจเพื่อรองรับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยจะเน้นไปที่การเพิ่ม Capacity ของการใช้บริการห้องพักและกิจกรรมเพื่อสุขภาพเป็นร้อยละ 80 รักษามาตรฐานการให้บริการกับกลุ่มลูกค้าเดิมและหากลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่ม ซึ่งจะเน้นกลุ่มลูกค้า คุณภาพชาวต่างชาติโซนเอเชีย และรองลงมาคือโซนยุโรป เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ มีกำลังซื้อสูง และมีโอกาสเติบโตได้อย่างมาก รวมไปถึงจะมีการกระตุ้นให้คนจองที่พักโดยตรงผ่านทั้งช่องทาง ออนไลน์และออฟไลน์ คิดเป็นสัดส่วน 80% และผ่าน Online Travel Agent คิดเป็นสัดส่วนเพียง 20 % เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ “The Sense” Glampiness จะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 8.9 ล้านบาทเพื่อสร้างที่พักเชิง ส่งเสริมสุขภาพในสไตล์ Glamping มีรายได้จากการให้บริการในปีที่ 1 รวม 16.6 ล้านบาท และมีการ เพิ่มขึ้นในทุกๆปี โดยคาดการณ์รายได้จากการดำเนินงานในปีที่ 5 ประมาณ 19.6 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 8.5 ล้านบาท มีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิเท่ากับ 26.5 ล้านบาท และสามารถคืนทุนภายใน ระยะเวลา 1 ปี 7 เดือน
Description: 65 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4192
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.015 2564.pdf2.76 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.