Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4252
Title: | แผนธุรกิจ สวนมะริด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร "สวนมะริด บ้านพ่อ" |
Other Titles: | Business plan for velvet apple farm agri-tourism (BAAN-POR velvet apple farm) |
Authors: | กฤษณ์, ปานเกษม |
Keywords: | การตลาด สวนมะริด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร แผนธุรกิจ ป่าไม้ ไม้เศรษฐกิจ |
Issue Date: | 31-Jul-2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | ต้นมะริด เป็นหนึ่งในต้นไม้เนื้อแข็งหายากซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกือบจะสูญพันธุ์จากประเทศไทยไปแล้ว เนื่องจากมะริดเป็นไม้เนื้อแข็ง มีสีสัน และลวดลายไม้ที่สวยงามแตกต่างจากไม้อื่นทั่วๆไป คนนิยมนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ หรือแม้กระทั่งเครื่องดนตรี นอกจากนี้ต้น มะริดยังมีราคาที่สูงไม่แพ้ไม้พะยูง โดยถ้าเป็นต้นมะริดที่มีอายุประมาณ 20 ปี สามารถขายได้ต้นละประมาณ 100,000 บาท และมีข้อดีมากกว่านั้นตรงที่ต้นมะริด สามารถให้ผลได้ทำให้สามารถนำผลมะริดไปจำหน่ายต่อหรือแปรรูปต่อได้อีกเข่นกัน แต่ไม้ที่มีมูลค่าและประโยชน์ขนาดนี้กลับไม่เป็นที่รู้จักหรือนิยมกันใน ประเทศไทยมากนัก ทำให้ยังมีความต้องการอีกมากที่ยังซ่อนอยู่ และในด้านของผู้จัดจำหน่ายเองนั้นก็มีสวยมะริดรายใหญ่อยู่แค่เพียง 2 แห่งเท่านั้นคือ สวนอำดาว จังหวัดพิษณุโลก และสวนตั้งสิน จังหวัดนครปฐม สำหรับด้านการท่องเทียวเชิงเกษตรนั้นจากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น ในปี 2557 มีจำนวน นักท่องเที่ยวเชิงเกษตรโตเพิ่มขึ้นถึง 308 เปอร์เซ็นต์ซึ่งส่งผลทำให้รายได้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโตขึ้น 147 เปอร์เซ็นต์ ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงโอกาสและความสนใจในธุรกิจนี้ จึงสร้างสวนมะริด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ขึ้นมาชื่อว่า สวนมะริด บ้านพ่อ โดย จะเป็นสวนมะริดที่ขายผล เมล็ด และต้นกล้ามะริด ซึ่งจะมีทั้งสายพันธุ์ไทย ฟิลิปปินส์ และเหลืองอินโด นอกจากนี้ยังมีการนำผลมะริดมาต่อยอดโดยการแปรรูป เป็นไอศกรีมมะริด ซึ่งจะมีรสชาติและกลิ่นที่รับประทานได้ง่ายและอร่อย สวนมะริด บ้านพ่อยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย ซึ่งภายในสวนจะมีร้าน คาเฟ่ สวนให้คนเดินชม และจะมีกิจกรรมใหค้นสามารถเข้าร่วมได้ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมปั้นกระถางสำหรับปลูกต้นมะริด และทำขนมหรืออาหารจากผลมะริด ซึ่งสวนมะริด บ้านพ่อ จะตั้งอยู่ที่ 140 ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160 การดำเนินการจะมีการจัดเตรียมที่ดินและพื้นที่สำหรับการก่อสร้างร้านคาเฟ่หรืออาหารสำหรับรับรองลูกค้า ต่อมาก็จะทำการแบ่งพื้นที่ ออกเป็นโซนต่างๆ ออกแบบเมนูร้านคาเฟ่ และกิจกรรมภายในสวนทั้งหมด หลังจากนั้นก็จะทำการก่อสร้างตามแปลนที่ได้ออกแบบเอาไว้พร้อมกับจัดซื้อ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ไปพร้อมๆกัน ต่อมาก็จะทำการจ้างพนักงานและประชาสัมพันธ์สวนมะริด บ้านพ่อ ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ของลูกค้า ถัดมากจ็ะทำการทดลองระบบของร้านค้าโดยจะเปิดสวนเป็นแบบ Soft Opening เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน และจะใช้เวลาอีก 1 เดือนในการแกไ้ขปัญหา ต่างๆที่พบเจอ ก่อนที่จะเปิดสวนมะริด บ้านพ่อ อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งกระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี โครงสร้างองคก์รของสวนมะริด บ้านพ่อ จะแบ่งผู้จัดการออกเป็น 3 ด้านหลักๆ คือด้าน Operation ด้าน Finance & HRและด้าน Marketing โดยผู้จัดการในแต่ละด้านนั้นจะเป็นคนในครอบครัวที่มีความรู้ในด้านนั้นๆ และจะมีตำแหน่งพนักงานอยู่ทั้งหมด 8 คนในด้าน Operation ซึ่งจะแบ่งเป็น พนักงานในร้านคาเฟ่ 4 คน และพนักงานสวนมะริด 4 คน โดยแผนการจ้างพนักงานในปีแรกจะจ้างพนักงาน 3 คน ปีที่ 2 จ้างพนักงานเพิ่มอีก 3 คน และปีที่ 3 จ้างพนักงาน 2 คนสุดท้าย เพื่อรองรับยอดขายที่โตเพิ่มขึ้นในแต่ละปีๆ โครงการสวนมะริด บ้านพ่อ ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 21 ล้านบาท มีต้นทุนถัวเฉลี่ยเท่ากับ 12.72 เปอร์เซ็นต์ โดยเริ่มมีกำไรในปีที่ 1 มีมูลค่า ปัจจุบันเท่ากับ 20,593,548 บาท มีอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ 31.38 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาคืนทุน 4 ปี 2 เดือน และระยะคืนทุนแบบคิดลดคือ 4 ปี 5 เดือน |
Description: | 145 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4252 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.046 2564.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.