Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4348
Title: ตัวแบบกระบวนการจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนเพาะปลูกถั่ว ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
Other Titles: COMMUNITY ENTERPRISE KNOWLEDGE MANAGEMENT PROCESS MODEL: A CASE STUDY OF BEAN CULTIVATION COMMUNITY ENTERPRISE IN NORTHEN OF THAILAND
Authors: ภาษิต, เลิศพัชรศิริกุล
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
ตัวแบบกระบวนการจัดการความรู้
การจัดการความรู้
ความรู้
วิสาหกิจชุมชน
Issue Date: 21-Feb-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: พืชวงศ์ถั่ว เป็นพืชที่มีความสาคัญในด้านเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งเป็นพืชที่มีความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสูงในประเทศไทยและปลูกกันเป็นจานวนมากในภาคเหนือของประเทศไทยเช่น เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ตากและแม่ฮ่องสอน รวมถึงจังหวัดแถบภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ปัจจุบันสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) มีการกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญ 3 ประการคือ การสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชนบนฐานการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การจัดทำฐานข้อและองค์ความรู้หลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564) ในส่วนของภาคเกษตร มีความมุ่งสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคง เพื่อให้เกษตรสามารถพึ่งตนเองและเผชิญปัจจัยเสี่ยงได้อย่างมั่นคง ดังนั้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนต่อแนวทาง จึงทาการศึกษาวิจัย ตัวแบบกระบวนการจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนเพาะปลูกถั่วในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนเพาะปลูกถั่วดังกล่าวมีความรู้แบบชัดแจ้งและไม่ชัดแจ้งโดยได้รับจากทั้งภายนอกและภายในวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนมีกระบวนการจัดการความรู้ที่ครอบคลุมแต่ยังขาดระบบการจัดเก็บความรู้ที่เป็นระบบ โดยเฉพาะความรู้ท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งอาจสูญหายได้และกระบวนการถ่ายทอดความรู้แบบชัดแจ้งภายในชุมชนไปถึงชาวบ้านอยู่ในปริมาณน้อย และตัวแบบกระบวนการสร้างความรู้พบว่า มีการเกิดกระบวนการ Externalization และ Internalization ที่น้อยจึงการความรู้ใหม่น้อย
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4348
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.001 2565.pdf4.48 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.