Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4428
Title: พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของผู้สูงอายุ
Other Titles: BEHAVIORS AND GRATISFACTION IN USING TIKTOK APPLICATION OF ELDERLY
Authors: ชนนิกานต์, มุกดาแสงสว่าง
Keywords: การจัดการธุรกิจ
พฤติกรรม
ความพึงพอใจ
แอปพลิเคชั่น
TikTok
ผู้สูงอายุ
Issue Date: 17-Jun-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ9ือศึกษาพฤติกรรมในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของผูสู้งอายุ เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของผูสู้งอายุ และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ สำหรับผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น TikTok ให้เหมาะสมกับการใช้งานของกลุ่มผู้สูงอายุ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจาก การสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชัน TikTok ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป โดยคัดเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการ สุ่มแบบเจาะจงเฉพาะบุคคล จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ แอปพลิเคชันTikTok ในการติดตาม follow ประเภทเนื้อหาข่าวสารทั่วไป หลากหลายประเภท ได้แก่ ข่าวต่างประเทศ ข่าวในประเทศ ข่าวการเมือง ข่าวเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ข่าววงการเพลง โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok เพื่อการผ่อนคลายและความบันเทิง กลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งใช้แอปพลิเคชัน TikTok ทุกวัน ทั้งวัน ตลอดเวลา ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเล่นแอปพลิเคชัน TikTok โดยใช้เวลาในแต่ละครั้งไม่แน่นอน ส่วนใหญ่เล่นแอปพลิเคชัน TikTok เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 นาทีในแต่ละครั้งหรือเล่นเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ยังพบว่า การเล่นแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่มตัวอย่างมีช่วงเวลาการเล่นที่ไม่แน่นอน แล้วแต่สะดวก ชอบเล่นช่วงเช้า ชอบเล่นช่วงเช้าและช่วงเย็น หรือชอบเล่นช่วงคํ่ำ เนื่องจากแอปพลิเคชัน มีความบันเทิงให้ผู้สูงอายุได้รับชม ถ้าว่าง เมื่อไหร่ก็เปิดมารับชมพร้อมกับทำธุระอื่นควบคู่กันไปในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างคาดหวังมากที่สุดว่า เล่นแอปพลิเคชัน TikTok จะได้ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นเป็นอันดับแรก ด้านการรับรู้คุณภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยใช้บริการแอปพลิเคชัน TikTok แล้ว พอใจเกี่ยวกับการเป็นแหล่ง ความรู้ที่มีการสอดแทรกความบันเทิง เป็นอันดับแรก ในขณะที่ ด้านการรับรู้คุณค่า พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยทำ challenge ตามกระแส เช่น การเต้น การออกกำลังกาย ใส่รูปในเพลง ทำอาหาร ส่วนในอนาคต กลุ่มตัวอย่างมีความ ต้องการทำ challenge เพิ่มเกี่ยวกับสุขภาพ การออกกำลังกาย การให้ความรู้ต่าง ๆ เช่น ท่องเที่ยว อาหาร
Description: 62 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4428
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.092 2564.pdf827.38 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.