Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/446
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเข้าสู่ตลาดและการเงินของธุรกิจคอนกรีตมวลเบาประเภทไม่อบไอน้ำ "สุราษฏร์อิฐมวลเบา"
Authors: ณัฐนนท์ แซ่ลิ้ม
Keywords: Entrepreneurship and Innovation
ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
การเงิน
สุราษฎร์อิฐมวลเบา
คอนกรีต
อบไอน้ำ
Issue Date: 20-May-2014
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2557
Abstract: ในช่วงปี 2554-2555 ผู้ประกอบส่วนใหญ่ได้มีการขยายการลงทุนไปยังต่างจังหวัด ทำให้หัวเมืองใหญ่ต้องรองรับการขยายตัวของความต้องการพื้นฐาน และที่อยู่อาศัยทำให้เกิดโครงการก่อสร้างจำนวนมากโดยเฉพาะหัวเมืองสำคัญในแต่ละภูมิภาคคาดว่ามูลค่าลงทุนด้านก่อสร้างในปี 2556 จะมีมูลค่า 6 แสนล้านบาท เติบโต 6.9-8.9% จากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามให้พื้นที่ภาคใต้ซึ่งมีแรงงานน้อย ประกอบกับค่าแรงงานขั้นต่ำปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัสดุก่อสร้างประเภทก่อผนังหรืออิฐก่อผนังขาดแคลนในการก่อสร้างและต้นทุนสูงขึ้น บริษัทสุราษฎร์อิฐมวลเบา จำกัดตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบริษัทที่ผลิตคอนกรีตมวลเบาประเภทไม่อบไอน้ำ ภายใต้ตราสินค้าSLB โดยขึ้นรูปในลักษณะเป็นอิฐบล็อกใช้ในการก่อผนังชนิดไม่รับแรง มีจุดเด่นในเรื่องช่วยลดต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้าง ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ป้องกันเสียง ป้องกันความร้อนและมีน้ำหนักเบา เพื่อทดแทนการใช้อิฐมอญแดงและวัสดุอื่นๆ โดยอาศัยเครือธุรกิจครอบครัวในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจุดเริ่มต้นในการทำตลาด จำหน่ายตรงกับเจ้าของโครงการ, จำหน่ายผ่านร้านค้า ผู้รับเหมา ในราคาก้อนละ 18 บาท /300 บาทต่อตารางเมตร และจะขยายไปยังพื้นที่ภาคใต้ตอนบนซึ่งได้แก่จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครรีธรรมราช ภูเก็ต ระนอง ชุมพร กระบี่และพังงา โดยบริษัทสุราษฎร์อิฐมวลเบา จำกัดได้ตั้งยอดขายในปีแรกไว้ที่ 12 ล้านบาทโดยในปีแรกจะทำการเดินการผลิตเพียง 40%ของกำลังการผลิตและจะตั้งเป้าหมายทำตลาดในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีก่อน และในปีถัดไปบริษัทตั้งเป้าที่จะเดินการผลิตที่ 100% หรือ1,697,280 ก้อนซึ่งจะทำให้ได้กำไรประมาณ 4 ล้านบาทต่อปี สำหรับรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินการจะใช้เงินลงทุนที่ 9,114,000 บาท มีผลตอบแทนการลงทุนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่ 15.4ล้านบาทและได้ IRR เท่ากับร้อยละ50 และระยะคืนทุนโครงการอยู่ที่ 3 ปี 8 เดือน โดยในปีที่ 6 มีโครงการจะเพิ่มสินค้าโดยเพิ่มรูปแบบการใช้งานและมีการขยายสาขาไปยังภูมิภาคต่างๆในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/446
Other Identifiers: TP EM.016 2557
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.016 2557.pdf1.63 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.